วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under : ,

RSI เป็นเครื่องมือวัดการแกว่งของตลาดอีกเหมือนกัน ซึ่ง RSI จะให้สัญญาณที่ช้ากว่า อินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ แต่เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างที่จะแม่นยำเลยทีเดียว

การใช้ RSI  โดยส่วนใหญ่ก็จะใช้ดู Overbought /Oversold เหมือนกัน  และดู Divergence เช่นเดียวกัน การดูDivergence ด้วย RSI เป็นที่นิยมกันมาก เพราะมันจะให้ค่าที่แม่นตรง มากๆ โอกาสที่จะพลาดมีน้อย เพราะว่า RSI จะวิ่งเป็นรอบที่ใหญ่มากตามค่าที่เราตั้ง ถ้าเราตั้งค่า 14  ราคาวิ่งลงหนึ่งรอบ rsi จะวิ่งแค่สองรอบ ซึ่งแตกต่างจาก sto ที่วิ่งเป็น สิบๆรอบ นี่คือเหตผลที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้ RSI เป็นเครื่องมือในการทำกำไร

RSI ที่ใช้กันส่วนใหญ่ คือ  9 และ 14 วัน เป็นค่าที่มาตรฐานที่สุด

สัญญาณการกลับตัว เมื่อ RSI เข้าสู่ระดับ 70 ให้เราเตรียมตัวออกจากออเดอร์ที่เราได้ เปิด Buy ไว้ แล้วก็หาจังหวะ Sell

สัญญาณการกลับตัวเมื่อ RSi เข้าสู่ระดับ 30 ให้เราเตรียมตัวออกจากออเดอร์ที่เราได้ เปิด Sell ไว้ แล้วก็หาจังหวะ Buy

การหาจังหวะเข้า  Sell ต้องรอให้ RSI หัดหัวลงก่อนนะครับ เปิดดูที่กราฟ TF ใหญ่ๆก่อนว่ามันหักลงหรือป่าว ถ้าหัก เราก็เปิด หา สัญญาณจาก TFเล็กๆ ถ้าหักลงตามกัน
เราก็จึงหาจังหวะ Sell ในขณะเดียวกัน จังหวะบายก็ทำเหมือนกัน

ภาพตัวอย่างของการใช้ RSI 



ข้อมูลจาก...http://www.fx-dd.makewebeasy.com



วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under :


สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน วันนี้ขอนำเสนอ วิธีการเทรดโดยการดู Divergence วิธีนี้เทรดเดอร์มือใหม่ควรจะเรียนรู้เอาไว้นะครับ เพราะสามารถใช้ทำกำไรได้ดีทีเดียว เทรดเดอร์บางคนเทรดมาหลายปีแล้วยังไม่รู้เลยครับ ว่า Divergence และ Convergence คืออะไร วันนี้ 9professionaltrader จะเขียนบทความให้อ่านนะครับ 
Divergence เป็นการวิเคราะห์ทางเทคนิคอีกแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในการวิเคราะห์ ในตลาดฟอเร็กซ์หรือแม้แต่ตลาดหุ้น  เพราะ Divergence เป็นวิธีการเทรดที่ง่ายและเข้าใจง่าย

Divergence คือ การแยกออกจากกัน ความขัดแย้งกันของราคาและตัวชี้วัด(Indicator) หมายความว่า ทิศทางของราคาและทิศทางของตัวชี้วัด Indicator จะตรงกันข้ามกัน 

Convergence คือ การลู่เข้ามาหากัน ลู่เข้ามาบรรจบกัน ในการวิเคราะห์เราจะหมายความว่า ทิศทางของราคา และทิศทางของตัวชี้วัด Indicator จะไปในทิศทางเดียวกัน 

ตัวชี้วัด Indicators ที่ใช้ในการดู Divergence และ Convergence ที่ใช้กันทั่วไป ส่วนมากจะเป็น Oscillators Indicator คือ Indicators ที่วัดการแกว่งของราคา ได้แก่ Relative Strength Index (RSI) , Moving Average Convergence Divergence (Macd) , Stochastic Slow (Sto) , Commodity Channel Index และ William's Percent Range (W%R)

ตัวชี้วัดเหล่านี้ ผมได้ทดลองใช้แล้วพบว่าดีที่สุดสำหรับการดู Divergence
Divergence มี 2 ประเภท คือ Divergence Bullish คือ ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่(New Low) เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดเก่า (Low)  แต่ตัวชี้วัด(indicator) ทำจุดต่ำสุดใหม่(New Low) สูงกว่าจุดต่ำสุดเก่า(Low)  ดูรูปด้านล่างครับ




Bullish Divergence

จากรูปจะเห็นว่าความชันของ Indivator จะเป็นบวก

EX. Bullish Divergence Chart เป็นกราฟ ของ GBP/USD


-ทริคในการดู Bullish Divergence ให้ได้ผลออกมาดีที่สุด คือ เราต้องรอให้ราคาที่มาทำ New Low มีการดีดตัวกลับก่อน ตรงตำแหน่ง New Low ต้องเกิด Bullish Candle คือมีการดีดตัวกลับ แล้วเราจึงมาดู Indicator ว่า New Low มันสูงกว่า Low เดิมมั้ย ถ้ามันสูงกว่า นี่คือสัญญาณ Bullish Divergence เราสามารถเปิดออเดอร์ Buy(Long) ได้เลยครับ


Divergence Bearish คือ ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ (New High) สูงกว่าจุดสูงสุดเก่า (Low) แต่ตัวชี้วัด (Indicator) ทำจุดสูงสุดใหม่ (New High) ต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่า (High) ดูที่รูปด้านล่างครับ


จากรูปเราจะเห็นว่า ความชันของอินดิเคอร์เตอร์ จะเป็นลบ 


Ex. ตัวอย่างกราฟ Divergence Bearish เป็นกราฟ EUR/USD 4 H 





จากรูปเราจะเห็นว่า ราคาขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่า แต่อินดี้ของเรากลับทำจุดสูงสุดใหม่ต่ำกว่าเก่า แบบนี้เราเรียกว่า Divergence Bearish ครับ 

ทริคในการสังเกตไดเวอร์เจนประเภทนี้ คือเราต้องรอให้ราคาหยุดนิ่งก่อน อย่าไปสวนขณะที่มันกำลังพุ่งขึ้นเด็ดขาด ต้องรอให้มีการกลับตัวเล็กน้อย โดยดูจากแท่งเทียน ถ้ามีแท่งเทียนกลับตัว Bearish Candle , Reverse Candle และมาดูที่ Indicator ถ้ามันต่ำกว่า High เก่า เราก็สามารถ Sell (Short) 
ได้เลย

Credit:......www.9professionaltrader.blogspot.com Divergence and Convergence Trading | Forex Trading Blog สอนเทรด Forex - แหล่งศึกษาข้อมูล Forex และสอน Trade Forex แบบมืออาชีพ 
Under Creative Commons License: Attribution



วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under :
ข้อมุลจาก .... http://www.taladhoon.com


FIBONACCI เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรม ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI และได้มีการบันทึกไว้ในราวต้น ค.ศ.ที่ 13 จากการที่เขาได้สังเกต และศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น รูปแบบของฟ้าแลบ รูปแบบของผลไม้ต่าง ๆ และรูปแบบของเปลือกหอยทาก เป็นต้น พบว่า การเกิดของปรากฏการณ์เหล่านั้นมีรูปแบบที่เป็นปกติ และค่อนข้างสม่ำเสมอ (Regular) ซึ่งเขาได้นำมาคิดเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ คือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89 และต่อ ๆ ไป โดยตัวเลขเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน กล่าวคือ ตัวเลขตัวหลังเป็นผลบวกของสองตัวเลขก่อนหน้า เช่น 1 บวก 2 เท่ากับ 3 และ 3 บวก 5 เท่ากับ 8 เป็นต้น และอัตราส่วนของตัวเลขก่อนหน้าต่อตัวตามติดมาหลังจากใน 4 ตัวแรกแล้ว จะเข้าใกล้อัตราส่วน 0.618 เสมอหรือกลับกันที่เข้าใกล้อัตราส่วน 1.618 ทั้งนี้เมื่อตัวเลขยิ่งเพิ่มขึ้นมาก ๆ ความเข้าใกล้อัตราส่วน 0.618 และ 1.618 ยิ่งมากเช่นกันดังตัวอย่างต่อไปนี้


1/1  =  1.0
1/1  =  1.0
1 / 2  =  .5
2/1  =  2.0
2/3  =  .667
3/2  =  1.5
3/5  =  .60
5/3  =  1.667
5/8  =  .625
8/5  =  1.6
8/12  =  .615385
13/8  =  1.625
13/21  =  .619048
21/13  =  1.61538
21/34  =  .617647
34/21  =  1.61905
34/55  =  .618182
55/34  =  1.61765
55/89  =  .618056
89/55  =  1.61818



อัตราส่วนนี้ต่อมา เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีของชาวกรีกและอียิปต์สมัยโบราณ โดยเรียกอัตราส่วนนี้ว่า อัตราส่วนทอง  (Golden Ratio) และได้มีการนำอัตราส่วนนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ดีกับวิชาการดนตรี ศิลปะการสถาปัตยกรรม และชีววิทยา และเชื่อกันว่าชาวกรีก ใช้หลักของอัตราส่วนนี้ในการก่อสร้างโบสถ์พาธินอน (Parthenon) ที่มีสถาปัตยกรรมอันงดงามในกรุงเอเธนส์ และชาวอียิปต์ก็เช่นเดียวกัน ใช้หลักของอัตราส่วนนี้ในการสร้างปิรามิด

จากตัวเลข FIBONACCI ดังกล่าว ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของราคาหุ้นที่เชื่อว่า มีการเคลื่อนไหวในรูปแบบที่ค่อนข้างแน่นอนเพื่อที่จะใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย ของราคาหุ้น โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ

    ฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนาน  (FIBONACCI LINES)
    ฟิบอนนาซี่แบบพัด  (FIBONACCI FAN LINES)
    ฟิบอนนาซี่แบบระยะเวลา  (TIME ZONES)

โดยใน 2 รูปแบบแรก (แบบข้อ 1 และ 2) จะเกี่ยวข้องกับเรื่องราคาเป็นสำคัญ ในขณะ รูปแบบหลัง (แบบข้อ 3) จะเกี่ยวข้องกับเรื่องเวลา



ฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนาน  (FIBONACCI LINES)

การสร้างรูปแบบนี้ สามารถทำได้ทั้งในแนวนอน หรือตามแนวโน้มที่กำลังขึ้นหรือลงอยู่ โดยในแนวนอน เริ่มต้นจะต้องหาจุดสูงสุด หรือต่ำสุดของแนวโน้มที่มีนัยสำคัญของราคาหุ้นเสียก่อน แล้วทำการสร้างเส้นตรงแนวนอน (Horizontal line) ผ่านจุดนั้น, ส่วนในแนวโน้มขึ้น เริ่มต้นด้วยการสร้างเส้นแนวโน้มขึ้นจากจุดต่ำสุดอย่างน้อยสองจุด, สำหรับในแนวโน้มลง จะเริ่มด้วยการสร้างเส้นแนวโน้มลงจากจุดสูงสุดอย่างน้อยสองจุด

หลังจากนั้น ให้สร้างเส้นตรงที่ขนานกับเส้นแรก โดยลากผ่านจุดสูงสุดหรือต่ำสุดที่ตรงข้ามกับเส้นแรก และต่อมาก็สร้างเส้นขนานในช่องระหว่างเส้นทั้งสอง ตามอัตราส่วน 38.2% 50.0% และ 61.8% ตามอัตราส่วนเลขฟิบอนนาซี่ (FIBONACCI RATIO) เพื่อแบ่งช่องว่างระหว่างเส้นขนานระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุด และ ณ เส้นตรงขนานระดับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% นี้เองทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับหรือแนวต้านสำหรับราคา และเมื่อราคาหุ้นสามารถวิ่งทะลุผ่านขึ้นหรือลงก็จะให้สัญญาณซื้อหรือขายตามลำดับ

จากรูปภาพ เป็นตัวอย่างของฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนานในแนวนอน เรากำหนดให้จุด A เป็นจุดสูงสุด และจุด B เป็นจุดต่ำสุด โดยมีเส้นขนาน C, D, และ E เป็นตัวแบ่งความกว้างระหว่างจุด A และ B ตามอัตราส่วนเลขฟิบอนนาซี่ และสำหรับการวิเคราะห์ เราจะเห็นได้ว่า ในช่วงระหว่าง JUNE ถึง SEP. ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบกว้าง ๆ ระหว่างเส้น C ที่กรณีนี้ทำหน้าที่เป็นแนวต้านและเส้น E ที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับในขณะที่มีเส้น D อยู่ตรงกลาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่ออยู่ต่ำกว่าราคาหุ้น และแนวต้านในกรณีอยู่สูงกว่าราคาหุ้น เราเห็นได้จากการเคลื่อนที่ของดัชนีฯ ตามกราฟ ที่เมื่อใดที่ดัชนีฯ มีการเคลื่อนไหวขึ้นไปใกล้แนวต้าน (เส้น C) จะหักหัวลง ซึ่งเกิดขึ้นถึง 4 ครั้งในช่วงระยะเวลา JUNE-SEP. ที่ผ่านมา จนประสบความสำเร็จวิ่งทะลุผ่านได้ในที่สุด และวิ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง SEP. ในทางกลับกัน ดัชนีฯ ก็จะหักหัวสูงขึ้น เมื่อเข้าใกล้แนวรับตามเส้น D และ E แต่ถ้าทะลุแนวรับลงไปได้ก็จะลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน อาทิเช่น ในช่วงปลาย MAY

สำหรับรูปฟิบอนนาซี่แบบเส้นตรงในแนวโน้มขึ้นและลง เป็นดังตัวอย่างต่อไปนี้





ฟิบอนนาซี่แบบพัด  (FIBONACCI FAN LINES)

การสร้าง FIBONACCI FAN LINES ในเบื้องต้น ก็เหมือนกับกรณีแบบเส้นตรงแนวนอน คือต้องหาจุดต่ำสุด และสูงสุดของแนวโน้มที่มีนัยสำคัญของราคาหุ้นก่อน แล้วสร้างเส้นแนวโน้มจากจุดต่ำสุดหรือสูงสุดที่ระดับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% ตามลำดับ เพื่อแบ่งความกว้างระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด (ปกติเครื่องจะสร้างเส้น FAN LINES ให้)

เส้น FAN LINES ทั้ง 3 เส้นนี้ จะเป็นแนวรับและแนวต้าน สำหรับราคาหุ้น และเมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้น FAN LINES เส้นใดขึ้นไป ก็จะเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณให้ซื้อ ในทางตรงกันข้ามถ้าทะลุผ่านเส้น FAN LINES ลงมาก็บอกถึงสัญญาณให้ขาย และโดยปกติแล้ว เมื่อราคาหุ้นตกทะลุผ่านแล้วแนวรับลงมา ราคาหุ้นจะลงอย่างรวดเร็วไปสู่แนวรับเส้นต่อไป ในทางกลับกันถ้าราคาหุ้นสามารถทะลุผ่านเส้นแนวต้านขึ้นไปได้ ก็จะวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่อยู่เหนือกว่าต่อไป



ฟิบอนนาซี่แบบช่วงระยะเวลา  (TIME ZONES)

เป็นการสร้างช่วงระยะเวลา โดยใช้ตัวเลข FIBONACCI เป็นตัวแบ่ง โดยจะเริ่มจากยอดต่ำสุดหรือสูงสุดของแนวโน้ม ทั้งนี้เมื่อราคาหุ้นเข้าใกล้ หรือตรงกับเส้นตรงที่แบ่งช่วงระยะเวลา อาจจะมีสัญญาณที่บ่งบอกว่า แนวโน้มหุ้นจะดำเนินต่อไปตามแนวโน้มเดิม หลังจากมีการชะลอตัว หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มที่มีนัยสำคัญ




หมายเหตุ  เมื่อมีรูปแบบและความหมายของ FIBONACCI แต่ละแบบแล้ว การวิเคราะห์และพิจารณาประกอบกัน ยิ่งจะทำให้มีความหมาย และความแน่นอนมากขึ้น เช่นในกรณีที่ราคาหุ้นอยู่เหนือจุดที่ FANLINES และ TIMEZONE มาพบกัน ซึ่งถือเป็นจุดแนวรับ การที่ราคาหุ้นทะลุผ่านจุดหรือแนวดังกล่าวลงมาได้ ยากกว่าการที่จะผ่านแนวรับตาม FAN LINES เพียงอย่างเดียว ในทำนองเดียวกัน ราคาหุ้นจะผ่านแนวต้านตรงที่ FAN LINES มาบรรจบกัน TIMEZONE ได้ยากกว่าแนวต้านตาม FAN LINES อย่างเดียวเช่นกัน

เครื่องมือ FIBONACCI นี้ เหมาะสำหรับการหาแนวโน้มระยะปานกลาง และระยะเวลาสำหรับจุดต่ำสุด และสูงสุด ควรห่างกันอย่างน้อยประมาณ 3 เดือน จึงจะมีความแม่นยำในการชี้แนวโน้ม และมีข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งว่า แนวรับหรือแนวต้าน สำหรับการวิเคราะห์ราคาหุ้นโดยทั่วไปจะใช้ตัวเลข 38%, 50% และ 62% ของการขึ้นหรือลง ซึ่งแตกต่างเล็กน้อยจากตัวเลข FIBONACCI คือ 38.2%, 50.0% และ 61.8%






Posted by Forex Trader | File under :
ข้อมูลจาก....http://www.taladhoon.com


STOCHASTICS  คือ ดัชนีวัดการแกว่งตัวของราคาที่ศึกษาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาปิด โดยมาจากข้อสังเกตที่ว่า ถ้าการสูงขึ้นของราคาหุ้นนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป ราคาปิดของหุ้นนั้นจะอยู่ใกล้กับราคาสูงสุด แต่ถ้าราคาของหุ้นมีแนวโน้มลดต่ำลง ราคาปิดจะอยู่ในระดับเดียวกับราคาต่ำสุดของวัน
ถ้าราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก “ขึ้น” เป็น “ลง” เรามักจะพบว่าราคาในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายอาจจะสูงขึ้น แต่ราคาปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุดของวัน แต่หากราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก “ลง” เป็น “ขึ้น” ราคาปิดจะมีราคาใกล้เคียงกับราคาสูงสุดของวัน แม้ว่าในระหว่างชั่วโมงซื้อขายราคาอาจจะลดต่ำลง
ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสูงสุด-ต่ำสุดกับราคาปิด ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสูตรสมการในการดูแนวโน้มขึ้น หรือลงของราคาหุ้นในช่วงสั้น ๆ โดยนำมาใช้ดูว่า ราคาปิดอยู่ที่ระดับกี่เปอร์เซ็นต์ของช่วงราคาที่ซื้อขายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

หลักการเบื้องต้นในการคำนวณ  STOCHASTICS
เครื่องมือ  STOCHASTICS  ประกอบด้วย
     เส้น %K เป็นเส้น  STOCHASTICS
     เส้น  %D  เป็นเส้นค่าเฉลี่ยของเส้น  %K
            %K       =         ราคาปิด (วันนี้) - ราคาต่ำสุด (ในช่วง n วัน)          
                              ราคาสูงสุด (ในช่วง n วัน) - ราคาต่ำสุด (ในช่วง n วัน)

            %D       =   ค่าเฉลี่ย (n วัน) ของค่า  %K


หลักการอ่าน  STOCHASTICS
สัญญาณเตือน “ซื้อ” เกิดขึ้นเมื่อเส้น  STOCHASTICS เข้าเขต  OVERSOLD ที่บริเวณระดับต่ำกว่า 20% และควรซื้อเมื่อเกิดสัญญาณ “ซื้อ” จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ขึ้น
สัญญาณเตือน “ขาย” เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERBOUGHT ที่บริเวณระดับสูงกว่า 80% และควรขายเมื่อเกิดสัญญาณ “ขาย” จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ลง


รูปแบบของการตัดขึ้นตัดลง

สัญญาณซื้อหรือขายจากการตัดขึ้นหรือลงในทางปฏิบัติ มักจะมีบางกรณีเกิดเป็นสัญญาณหลอกขึ้นซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนเสียหาย จึงมีกฎเกณฑ์เพิ่มเติมในการอ่านรูปแบบของการตัดขึ้นหรือลง โดยจะดูว่ารูปแบบในลักษณะใดที่จะผลักดันให้ราคาหุ้นขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว

การตัดค่อนไปทางขวามือ  (RIGHT-HAND CROSS-OVER)

เนื่องจากเส้น %K เปลี่ยนทิศทางเร็วกว่าเส้น %D โดยจะวิ่งขึ้นหรือลงก่อน และอาจทำให้เกิดสัญญาณหลอก ดังนั้นสัญญาณที่ดีกว่าคือ การให้ทั้ง 2 เส้นเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ในกรณีเช่นนี้ รูปแบบจะออกมาในลักษณะที่เส้น %K ตัดเส้น %D ค่อนไปทางขวามือ (RIGHT-HAND CROSS-OVER) ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนกว่า






รูปแบบ  HINGE

เป็นรูปแบบการชะลอการขึ้นหรือลงในลักษณะอ่อนตัวลง เป็นเครื่องชี้ว่าราคาหุ้นอาจจะมีการเปลี่ยนทิศทางในเร็ว ๆ นี้






การแยกทางจากกันระหว่างแผนภูมิราคากับแผนภูมิ STOCHASTICS
(DIVERGENCE)  แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

BEARISH DIVERGENCE  คือการที่ราคาหุ้นสามารถสร้างจุดสูงใหม่ แต่ STOCHASTICS ไม่สามารถสร้างจุดสูงใหม่เป็นสัญญาณขาย


BULLISH DIVERGENCE  คือการที่ราคาหุ้นสร้างจุดต่ำใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำเก่า แต่ STOCHASTICS มีจุดต่ำใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำกว่า เป็นสัญญาณซื้อ





รูปแบบ SET-UP
จุดยอดใหม่ของ   STOCHASTICS  สูงกว่าจุดยอดเก่า ในขณะที่ราคาหุ้นไม่สามารถสร้างจุดสูงใหม่และกลับลดต่ำกว่าจุดสูงเก่าเป็นสัญญาณเตือนว่า การลดต่ำลงของราคาหุ้นไม่น่าจะรุนแรงมากกว่านี้เรียกว่า  BULL SET-UP  และมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะดีดตัวกลับสูงขึ้น



BEAR SET-UP จุดต่ำใหม่ของ  STOCHASTICS  ต่ำกว่าจุดต่ำกว่าในขณะที่ราคาหุ้นมีจุดต่ำใหม่สูงกว่าจุดต่ำเก่า  เป็นสัญญาณเตือนว่า การขึ้นของราคาหุ้นครั้งนี้จะเป็นการขึ้นก่อนที่ราคาจะต่ำลง


รูปแบบ  FAILURE แบ่งเป็น  2 ลักษณะคือ

รูปแบบ  KNEE  เส้น %K ตัดเส้น%D ขึ้นและถอยกลับแต่ไม่ทะลุผ่านเป็นสัญญาณเตือนว่า  ราคาหุ้นยังสามารถที่จะเคลื่อนตัวสูงขึ้นต่อไปได้



รูปแบบ  SHOULDER  เส้น %K ตัดเส้น %D  และดีดตัวสะท้อนกลับแต่ไม่สามารถตัดผ่านไปได้เป็นสัญญาณเตือนว่าราคาหุ้นใกล้จะอ่อนตัวลง



รูปแบบ  GARBAGE แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

GARBAGE TOP  เป็นรูปแบบทีเส้น  %K ตัดเส้น %D ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่บริเวณเขตภาวะซื้อมากไป รูปแบบนี้จะเกิดขึ้นกับสภาพตลาดที่อยู่ในภาวะขาขึ้น ซึ่งจะใช้ระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะมีการปรับตัวลง ลักษณะการปรับตัวลงของ STOCHASTIC จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว  และจะสามารถดีดตัวกลับสูงข้นได้ทันที โดยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับตัว V จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า SPIKE BOTTOM




GARBAGE BOTTOM เกิดขึ้นในสภาพตลาดขาลง และมีความหมายตรงกันข้ามกับ GARBAGE TOP โดยรูปแบบการปรับตัวสูงขึ้นของ  STOCHASTIC จะเป็นไปในลักษณะ SPIKE TOP





ความหมายของระดับ 0% และ 100%

ระดับ 0%  หมายถึงระดับที่บอกภาวะขายมากไป  (OVERSOLD) ของหุ้นแต่ ณ ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะลดลงต่ำกว่านี้อีกไม่ได้ เพียงแต่แต่บอกว่า ณ ระดับนี้ราคาหุ้นอาจหยุดพักชั่วคราว หรืออาจดีดตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ในลักษณะของ  TECHNICAL REBOUND ก่อนที่ราคาจะตกลงต่อระดับ 0% จึงอาจตีความได้ว่าราคาหุ้นได้ลดลงมาถึงระดับ  “WEAK”

ระดับ 100 % หมายถึงระดับที่บอกภาวะซื้อมากไป (OVERBOUGHT) ของหุ้น แต่ ณ ระดับนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะไม่สามารถวิ่งขึ้นสูงต่อไปได้ แต่กลับชี้ให้เห็นว่าหุ้นมีความแข็งแรง (STRONG) จน สามารถผลักดันให้เส้น STOCHASTIC ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 100% ได้ อย่างไรก็ดี ณ ระดับราคานี้  STOCHASTIC   อาจมีการปรับตัวลงมาบ้าง (TECHNICAL CORRECTION)   แต่เป็นการปรับตัวเพื่อลดภาวะ OVERBOUGHT  มากกว่า



สโตแคสติกส์แบบเร็ว FAST STOCHASTIC

STOCHASTIC  แบบเร็วนี้ เป็นเครื่องมือวัดการแกว่งตัวของระดับราคาในปัจจุบัน ภายในช่วงกว้างของระดับราคา ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งมีการแกว่งตัวที่รวดเร็วมาก จึงทำให้หลายฝ่ายไม่นิยมใช้ เนื่องจากมีการแกว่งตัวที่ผันผวนและไม่แน่นอน ดังนั้น SLOW STOCHASTIC จึงเป็นที่นิยมใช้มากกว่า  STOCHASTIC นี้ประกอบด้วยค่าดัชนีสองค่าคือ %K และ %D โดยจะบอกถึงภาวะซื้อมากไป  (OVERBOUGHT) เมื่อ STOCHASTIC ตัดเส้น  80%  ขึ้นไป  คืออยู่ในช่วงระหว่างเส้น 80%  ถึง  100  % และจะบอกภาวะขายมากไป (OVERSOLD)  เมื่อ  STOCHASTIC   เตือนชี้จะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %D ตัดเส้น  20% ลงมา  และสัญญาณซื้อจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น  %Kตัดเส้น  %D ขึ้นไป   สำหรับสัญญาณเตือนขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %D ตัดเส้น 80% ขึ้นไป   และสัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %K ตัดเส้น  %D ลงมา

FORMULA

FAST %k  =   CURRENT CLOSE – LOWEST LOWn  
                        HIGHEST HIGHn – LOWEST LOWn

%D = 3 PERIOD MODIFIED MOVING AVERAGE OF FAST %k

n =  NUMBER OF PERIODS





สโตแคสติกส์แบบช้า SLOW STOCHASTIC

SLOW STOCHASTIC  เป็นอีกแบบหนึ่งของเครื่องมือวัดการแกว่งตัวของราคา ที่ถูกทำให้ราบเรียบขึ้นจาก  FAST STOCHASTIC   ซึ่ง SLOW STOCHASTIC  ใช้  MODIFIED MOVING AVERAGE  ในการหาค่า  SLOW %K  เท่ากับ  3  PERIOD แต่ใน FAST STOCHASTIC ค่าของ  FAST %Kจะใช้ MODIFIED MOVING AVERAGE เท่ากับ  1  PERIOD  หรือไม่มีการเฉลี่ยนั่นเอง

FORMULA

SLOW %K = 3 Period Modified Moving Average of FAST %K

%D =  3 Period Modified Moving Average of  SLOW %K

หลักการวิเคราะห์  SLOW STOCHASTIC  ใช้หลักเดียวกันกับ  FAST    STOCHASTIC





สโตแคสติกส์แบบปรับปรุง MODIFIED STOCHASTIC

MODIFIED  STOCHASTIC   เป็นอีกแบบหนึ่งของเครื่องวัดการแกว่งตัวของราคา ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยสามารถทำให้ราบเรียบขึ้นจาก  FAST STOCHASTIC หรือทำให้แกว่งตัวมากกว่า SLOW STOCHASTIC

แต่เดิม  FAST  STOCHASTIC  ใช้   MODIFIED MOVING  AVERAGE ที่กำหนดช่วงเวลาในการหาค่า  %D เท่ากับ  3 และ  SLOW  STOCHASTIC   ใช้  MODIFIED MOVING AVERAGE ที่กำหนดช่วงเวลาการหาค่า  %Kและ %D   เท่ากับ  3  แต่ใน  MODIFIE STOCHASTIC ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าของ MOVING AVERAGE เท่ากับช่วงเวลาใดๆก็ได้ และสามารถกำหนดรูปแบบของ  MOVING AVERAGE ได้ตามต้องการ เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาค่า  %K
และ %D

หลักการวิเคราะห์ของ  MODIFIED STOCHASTIC  ใช้หลักเดียวกันกับ FAST และ   SLOW   STOCHASTIC






วิลเลี่ยมเปอร์เซ็นต์อาร์  WILLIAM %R

%R เป็นเครื่องมือแสดงภาวะซื้อมากไป หรือภาวะขายมากไป ซึ่งพิจารณาจากราคาปัจจุบันว่าอยู่ ณ ระดับราคาใดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่กำหนด  %Rของช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ถูกคำนวณได้ โดยหักลบราคาปัจจุบันจากราคาสูงสุดของช่วงเวลานั้น แล้วหารผลที่ได้นี้ด้วยช่วงกว้างของระดับราคาของช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้

%R  =   HIGHn – CURRENT  LAST 
                      LOWn – HIGHn

เมื่อ       
n             =          จำนวนเวลา
HIGHn   =          ราคาต่ำสุดในช่วงเวลาที่กำหนด
LOWn    =          ราคาต่ำสุดในช่วงเวลาที่กำหนด

%R จะแตกต่างจากเครื่องมือตัวอื่น ๆ ในด้านมาตรวัด ซึ่งใช้วัดระดับ
ภาวะซื้อมากไปหรือขายมากไปโดยมีระดับอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง –100 กล่าวคือระดับ  0  จะอยู่ข้างบน ส่วน – 100  จะอยู่ด้านล่าง  เหตุที่วาง SCALE   ในลักษณะนี้เพื่อเหตุผลในการคำนวณ ดังนั้นจึงไม่ต้องให้ความสำคัญกับเครื่องหมายลบ

หลักการวิเคราะห์ของ  WILLIAMS
               สัญญาณซื้อจะเกิดเมื่อ  %R  ได้ตัดเส้นระดับ  -90% ขึ้นไป
               สัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น  %R  ตัดเส้นระดับ –10%
               ระดับภาวะซื้อมากไป  (OVERBOUGHT ) อยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง – 10
               ระดับภาวะขายมากไป  (OVERSOLD)  อยู่ในช่วงระดับ –90 ถึง – 100






วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under : ,

ข้อมูลจาก .... http://www.investorchart.com

เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average article       

 นับเป็นเครื่องมือสำคัญ เครื่องมือหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยมีส่วนช่วยในการมองเห็นถึงแนวโน้มการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น รวมถึงจุดที่เปลี่ยนแนวโน้ม เพื่อเป็นสัญญาณซื้อขาย รวมถึงแนวรับแนวต้าน ของราคาหุ้นในช่วงเวลาต่างๆ
ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนนั้น จะกำหนดเส้นค่าเฉลี่ย ในจำนวนวันที่แตกต่าง กัน ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการลงทุนของแต่ละบุคคล หรือรอบการเคลื่อนที่ของหุ้นตัวนั้น ว่าการกำหนดด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเท่าใด ที่น่าจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุด
โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้กันทั่วไปมีตั้งแต่
 

 5   วัน   (1 สัปดาห์)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
10   วัน  (2 สัปดาห์)   ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
25   วัน  (ประมาณ1 เดือน) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
75   วัน  (ประมาณ1 ไตรมาส) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
200 วัน  (ประเมาณ 1 ปี)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว


ซึ่งจำนวนวันเหล่านี้จะเป็นตัวบอกถึงราคาต้นทุนเฉลี่ยของคนที่ถือหุ้นมาแล้วในช่วงระยะเวลา แตกต่างกันเช่น
ปัจจุบันราคาหุ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25วัน ดังนั้นจึงบอกได้ว่า มีคนที่ถือหุ้นในช่วง 25วันที่ผ่านมา หรือนักลงทุนระยะกลางที่ยอมถือหุ้นนานกว่า 1 เดือน มีต้นทุนต่ำกว่า ราคาปัจจุบัน  ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ ยังมองว่าหุ้นเป็นแนวโน้มขาขึ้นตราบที่ราคาหุ้นยังยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25วัน

ดังนั้นการหาสัญญาณ ซื้อหรือขายหุ้นจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่



สัญญาณซื้อ คือ
  • เมื่อราคาเคลื่อนขึ้น และทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยตามช่วงระยะเวลาต่างๆ เช่น  5วัน, 10 วัน
  • เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว
     เรียกว่า (Golden cross)
สัญญาณขายคือ
  • เมื่อราคาเคลื่อนลงและทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยตามฤฤฉช่วงระยะเวลาต่างๆ เช่น  5วัน, 10 วัน
  • เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว
    เรียกว่า (Dead cross)




       ดังในภาพจะเห็นว่า ดัชนี SET index ปรับตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย  5 วัน (สีเขียว) 10วัน(สีแดง) และ 25วันสีฟ้า นับแต่ต้นเดือนเมษายน หรือ (4/2 จากตารางกราฟ) ซึ่งจะเห็นว่าเกิดแรงขายจากนักลงทุนระยะสั้น บางครั้งเมื่อหุ้นต่ำกว่า เส้นค่าเฉลี่ย 5วัน แต่เมื่อราคาถึงเส้นค่าเฉลี่ย 10วัน หุ้นจะสามารถเด้ง กลับได้หาก นักลงทุนระยะ 10วันยังมองว่า หุ้นยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอยู่ ดังนั้นเมื่อถึงระดับดังกล่าว จะมีแรงซื้อ ซ้ำเพราะราคาหุ้นยังถูกอยู่กว่าราคาในอนาคต    ส่วน นักลงทุนระยะกลาง เช่น 25วัน จะยังคงถือหุ้น ตราบที่ SET index ไม่หลุด 730 จุด ดังที่เห็นในกราฟเป็นต้น
   ซึ่งตัวอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่าบางครั้ง การซื้อขายระยะสั้น ตามสัญญาณ 5 วัน และ 10วันอาจให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการถือระยะยาวเป็นรอบ จากการดูเส้นค่าเฉลี่ยที่ยาวขึ้น แต่อย่างไร เส้นค่าเฉลี่ย ไม่มีกำหนดตายตัวว่า ค่าไหนดีที่สุด ขึ้นอยู่กับนิสัยหุ้นตัว นั้น สภาวะตลาดโดยรวม
    ดังนั้นกลยุทธ์การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการถือครองหุ้น ซึ่งจะเป็นตัวเลือกด้วยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยจาก จำนวนวันที่ต่างๆกัน แต่ ความแม่นยำ นั้นอาจขึ้นจากนิสัยของหุ้นตัวนั้น หรือ ผู้ที่ลงทุนในหุ้นตัวนั้นส่วนมาก เขาใช้เส้นค่าเฉลี่ยเท่าไหร และแบบใด
    ส่วนจุดอ่อนของการใช้เส้นค่าเฉลี่ย อาจเกิดขึ้นได้ หากหุ้นในช่วงนั้น เป็นลักษณะ Side way หรือแกว่งตัวในกรอบนานๆ อาจจะทำให้เส้นพันไป มา จึงเกิดทั้งสัญญาณหลอก ให้ ซื้อขาย ได้บ่อย  ก็ได้ ดังนั้น เส้นค่าเฉลี่ยนั้นจะเหมาะสำหรับการวิเคราะห์ในช่วงตลาดที่ มี Trend หรือแนวโน้ม
 ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย
ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย มีด้วยกันหลายแบบ ซึ่ง ผู้ลงทุนอาจจะใช้ราคา เปิด หรือ ราคาปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด หรือ ราคาเฉลี่ย มาเป็นตัวกำหนด สำหรับ การหาค่าเฉลี่ยก็ได้ ซึ่ง ส่วนใหญ่ที่ เราใช้อยู่ทั่วไป จะนำราคาปิดของหุ้นในแต่แท่งเทียน มาเป็นข้อมูลสำหรับการคำนวนค่าเฉลี่ย ดังเช่น
การหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบธรรมดา (SMA, Simple Moving Average)
เส้นค่าเฉลี่ยแบบธรรมดา มาจากการหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้น ในช่วงเวลาที่กำหนด เป็น N วัน
SMA คำนวณมาจาก
SMAt = 1/N(Pt+..........+Pt-N+1)

โดย P = ราคา
       T = วัน t
       N = จำนวนวันในค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่





ส่วนการหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบ EMA (Exponential Moving Average)
   นั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น
 ซึ่งวิธีนี้เป็นการพยายามแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากวิธี SMA กล่าวคือ EMA นั้น จะถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด และจะเอาค่าทุก ๆ ค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยจะไม่ทิ้งข้อมูลเก่าที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ค่าทุกค่าสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา
หลักการคำนวนคือ
 ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อคาบเวลา แต่ EMA จะให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่เรียกว่า SMOOTHING FACTOR (SF) หรือ SMOOTHING CONSTANT  โดยที่ SF = 2/(n+1) ซึ่งวิธีการสร้าง EMA มีสูตรการคำนวณคือ
 EMA   =   EMAt-1 + SF(Pt - EMAt-1)
 เมื่อ EMAt  คือ  ค่าของ Exponential Moving Average ณ เวลาปัจจุบัน
 EMAt-1   คือ  ค่าของ Exponential Moving Average ณ คาบเวลาก่อนหน้า
 SF  คือ  ค่าของ Smoothing Factor = 2/(n+1)
 Pt  คือ  ราคาปัจจุบัน
 n คือ  จำนวนวัน
*  หมายเหตุ : การคำนวณค่าเฉลี่ยของวันแรก จะใช้ราคาในวันแรกนั้นเป็น EMA
    ซึ่งทั้ง EMA และ SMA นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่ต่างก็จะเลือกใช้แบบใด แบบหนึ่ง จากทั้งสองแบบนี้ เพียงแต่ อาจจะขึ้นอยู่กับวิธีการวิเคราะห์
•     โดยการวิเคราะห์ แบบ SMA นั้นจะเห็นได้การเคลื่อนที่ของเส้นค่าเฉลี่ย มักจะช้ากว่า EMA ซึ่งการหาสัญญาณ ซื้อขายจากการตัดของเส้น EMA จะแม่นยำกว่า

•      ส่วนการวิเคราะห์แนวรับแนวต้านจากเส้นค่าเฉลี่ยนั้น SMA จะดีกว่า เนื่องจากเป็นการคำนวน ฐานต้นทุนของนักลงทุนที่แท้จริง จึงทำให้บ่อยครั้ง เป็นแนวรับแนวต้านที่สำคัญ

•     ส่วนหุ้นบางตัวนั้น อาจจะวิเคราะห์ด้วย EMA ดีกว่า SMA หรือ SMA ดีกว่า EMA นั้นขึ้นอยู่กับ ผู้เล่นหุ้นส่วนใหญ่ของตัวนั้น จะใช้ เส้นอะไร ดู เพราะจากมุมมองที่เหมือนกัน จึง ทำให้เกิดสัญญาณ ที่เหมือนกัน จนเป็น ความแม่นยำที่เกิดขึ้นก็เป็นได้





วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under :

มาจากเว็บ http://www.goldhips.com/board/index.php โดยคุณ temo

เขียนโดย ป้าเหมียว





ระดับความสำคัญของปฏิทินเศรษฐกิจ 


1. สำคัญมาก
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นข่าวและตัวเลขที่มีผลกระทบกับค่าเงินของประเทศนั้น ๆ อย่างแรง เมื่อตัวเลขประกาศแล้ว จะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลอยู่ประมาณ 5 – 10 นาที เราอาจจะได้เห็นกราฟเป็นแท่งยาว ๆ ทั้งขึ้น และ ลง ในเวลาเดียวกัน

2. สำคัญ
อันนี้ก็สำคัญ ก็จะส่งผลกระทบกับตลาดเงินมากแต่น้อยกว่า “สำคัญมาก” อยู่นิดนึง ซึ่งก็จะส่งผลให้มีกราฟยาว ๆ (แต่ขนาดของแท่งจะสั้นกว่าแบบแรก)

3. ทั่วไป
อันนี้จะเป็นข่าวเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป มีผลบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง หากประกาศวันเดียวกับ 2 ตัวบน อาจจะไม่ส่งผลอะไรสำคัญเลย แต่ถ้าประกาศตัวเดียว โดด ๆ อาจมีผลบ้างโดยหากสวนทางกับ 2 ตัวข้างบนอาจทำให้ตลาดนำข่าวนี้มาเล่นได้ เพราะจะเป็นตัววัดอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอื่นอาจจะหลอกลวงได้


คราวนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศนั้นเกี่ยวอะไรกับราคาทองคำ

โดยปกติราคาทองคำจะขึ้นอยู่กับ 

1. อัตราแลกเปลี่ยนของ USD
2. ราคาน้ำมัน
3. ราคาของโลหะพื้นฐาน และ โลหะอื่น พวก ทองแดง เงิน แพตตินั่ม พาลาเดียม
4. อื่น ๆ (ยังนึกมะออกจ้ะ)

คราวนี้ตัวเลขที่ประกาศจะกระทบกับ 2 อย่างตรง ๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยน กะ ราคาน้ำมัน


แล้ว 2 ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกะราคาทองคำอย่างไร?

1. อัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติ ถ้าไม่มีข่าวอย่างอื่น (หมายถึงพวกข่าวก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่มีน้ำหนักมากกว่า อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีผลตรง ๆ โดยไม่มีอย่างอื่นมาทำให้ราคาเพี้ยนไปจากเดิม โดยปกติแล้ว ทองคำจะขึ้นเมื่อ USD อ่อนค่า และ ทองคำจะลง เมื่อ USD แข็งค่า
แล้วคำที่ว่าอ่อนค่า กับ แข็งค่า เนี่ย เค้าเทียบกะสกุลไหนบ้าง โดยปกติแล้วจะดูที่ 2 สกุลใหญ่ ชื่อ JPY และ EUR หากสองอันนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ก็แสดงว่า USD อ่อน หรือ แข็งจริง ๆ จ้ะ

2. ราคาน้ำมัน จะเป็นตัวช่วยดัน หรือ ฉุด ราคาทองคำในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน


เอาละ... มาดูกันว่าโดยปกติปฏิทินเศรษฐกิจที่เค้าขยันประกาศตัวเลขกันมีอะไรบ้าง (มันอาจจะไม่ครบทุกอย่างนะ)


ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง...

ลำดับ ชื่อในปฏิทิน 

1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance
4 GDP ( Gross Domestic Production )
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure)
6 CPI ( Consumer Price index )
7 TICS ( Treasury International Capital System )
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting )
9 Retail Sales
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey
11 PPI ( Producer Price Index )
12 Weekly Jobless Claims
13 Personal Income
14 Personal spending
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England )
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager )
19 Philadelphia Fed. Survey
20 ISM Non-Manufacturing Index
21 Factory Orders
22 Industrial Production & Capacity Utilization
23 Non-Farm Productivity
24 Current Account Balance
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment )
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index )
27 Leading Indicators
28 Business Inventories
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany )
30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)




กลุ่มสำคัญมาก 

Trade Balance
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Gross Domestic Product หรือ GDP 
จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE) 
ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Price Index หรือ CPI 
ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Treasury International Capital System หรือ TICS 
ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Federal Open Market Committee หรือ FOMC 
จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Retail Sales 
ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

University of Michigan Consumer Sentiment Index 
ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Producer Price Index หรือ PPI 
ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง




Initial Weekly Jobless Claims 
ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Personal Income 
ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Personal Spending 
ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ) 
การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
- อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด

ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และ Slovenia

Durable Goods Orders 
ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Institute of Supply Management หรือ ISM 
ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้

Philadelphia Fed Survey 
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น

ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM 
ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Factory Orders 
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Industrial Production 
ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Non-Farm Productivity 
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Current Account Balance 
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Confidence 
ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า

NY Empire State Index 
ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า

Leading Indicators 
ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices

Business Inventories 
ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า

IFO Business Indexes 
ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น


วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under : ,

เส้นแนวโน้ม ( Trendline) เป็นเครืื่องมือที่ใช้ดูแนวโน้ม จุดกลับตัว และจุดเข้าจุดออก ในการเล่นฟอเร็กซ์ เทรนไลน์เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากสำหรับ Trader การใช้เทรนไลน์วัดแนวโน้ม สามารถลากได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การลากแนวโน้มขาขึ้น และลากแนวโน้มขาลง

แนวโน้มขาขึ้นคือ การลากจากจุดต่ำสุดเก่ามาหาจุดต่ำสุดใหม่ โดยที่จุดต่ำสุดใหม่ต้องสูงกว่าจุดต่ำสุดเก่า และแนวรับของแนวโน้มขาขึ้นเราจะเรียกว่า Support Trendline

แนวโน้มขาลงคือ การลากจากจุดสูงสุดเก่ามาหาสุดสูงสุดใหม่ โดยที่จุดสูงสุดเก่าต้องต่ำกว่าจุดสูงใหม่ใหม่ และแนวต้านของแนวโน้มขาลงเราจะเรียกว่า Resistance Trendline

การลากเทรนไลน์เพื่อหาแนวรับแนวต้าน เราสามารถลากได้ทุกช่วงเวลา ( Time Frame ) ลากที่ Time Frame เล็กๆ ตั้งแต่ 5 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง เราจะเรียกว่าแนวรับแนวต้านรอง  Minor Support Trendline &  Minor Resistance Trendline และแนวรับแนวต้านหลัก คือการลาก ตั้งแต่ช่วงเวลา 4 H ไปจนถึง Month เราจะเรียกว่า Major Support Trendline & Major Resistance Trendline

ผมจะยกตัวอย่างการลากเทรนไลน์ขาขึ้นนะครับ เป็นกราฟของ GBP/USD โดยการลากที่ 5 นาทีก่อนนะครับ

GBP/USD 5 Min


จะเห็นว่าผมเริ่มลากเทรนไลน์ จาหมายเลข 1 โดยที่ลากผ่านหมายเลข 2 ขึ้นไป แล้วเราก็รอจนราคาลงมาทดสอบเส้นเทรนไลน์ของเราอีักครั้ง ถ้าราคาลงมาทดสอบแล้วไม่สามารถผ่านเส้้นเทรนไลน์ที่ลากไว้ได้ ก็ เราก็จะ Buy ขึ้นไป แต่ถ้าราคาสามารถทะลุผ่านเส้นเทรนไลน์ลงมาได้ เราก็รอดูสัญญาณการกลับไปทดสอบเส้นเทรนไลน์อีกครั้ง( Retest) ถ้าไม่สามารถเทสผ่านได้ เราก็เปิด order sell กันได้เลย  

เมื่อเปิดออเดอร์ sell กันแล้ว หลังจากนั้นเราก็มาเปิดที่ ช่วงเวลา 15 นาที จากนั้นก็ทำการลากเทรนไลน์เหมือนเดิม เพื่อหาแนวรับ ( Minor Support Trendline ) ดูรูปประกอบกันเลยนะครับ

GBP/USD 15 Min


จากรูปด้านบน จะเห็นว่า เส้นสีแดงคือเส้นที่เราขีดไว้ตั้งแต่กราฟ 5 นาที แต่สีน้ำเงินเราได้ลากเทรนไลน์เพื่อหาแนวรับในกราฟ 15 นาที ซึี่งราคาได้ลงมาชนเส้นเทรนไลน์ แล้วเราก็ดูว่า ราคาจะสามารถทะลุผ่านเส้นเทรนไลน์ 15 นาทีของเราได้หรือไม่ ถ้าราคาสามารถผ่านได้เราก็ถือ Order sell ต่อ แต่ถ้าไม่สามารถผ่านได้ เราก็ปิดออเดอร์ Sell แล้วหาจังหวะเพื่อเปิดออเดอร์ Buyกันต่อไป จะเห็นว่าเมื่อราคาลงมาชนเส้นแนวมีการปรับตัวขึ้นไปทันที

การใช้เทรนไลน์เพื่อหาแนวต้าน ( Resistance Trendline) เมื่อราคาวิ่งลงมา แล้วมีการปรับตัวขึ้นไป ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่า ราคาจะไปหยุดตรงไหน ราคาจะกลับตัวตรงไหน จุดไหนที่คิดว่ามันสามารถจะไปต่อ หรือว่าจะกลับตัว ซึ่งเทรนไลน์สามารถบอกจุดเหล่านี้ได้ การหาแนวต้านล่วงหน้า เราสามารถหาได้จากการลากจุดจุดสูงสุดเก่ามาหาจุดสูงสุดใหม่ ดังรูปด้านล่างเลยครับ





จากรูป Resistance Trendline สามารถเลื่อนไปตามราคาได้ แนวต้านจะอยู่ประมาณเส้นที่ผมได้ทำลูกศรไว้ มาดูรูปด้านล่างเลยครับ จะเห็นว่าราคาเมื่อขึ้นมาชน Resistance Trendline แล้ว มีการกลับตัวทันที ซึ่งจุดนี้จึงเป็นจุดบอกการกลับตัวของราคาได้ครับ เมื่อราคาไม่สามารถผ่านจุดนี้ หรือราคาของแท่งเทียนไม่สามารถปิดสงกว่าเส้นแนวโน้มเส้นนี้ เราก็หาจังหวะ Sell กันได้เลยครับ ถ้าราคาไม่ลงตามที่เราคาดการณ์ไว้ เราก็ Cut Loss เมื่อราคาทะลุเส้นนี้ขึ้นไป แต่ถ้าเป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้ ก็ปล่อยราคาลงจนเราพอใจ หรือไม่ก็รอจนกว่าจะมีการดีดกลับอีกครั้ง เราจึงปิดออเดอร์ Sell ครับ




ขอบคุณข้อมูลจาก ... http://www.fx-dd.makewebeasy.com