วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under : ,




Bollinger bands


สัญญาณ Bollinger bands จัดเป็นเครื่อง envelope ชนิดหนึ่ง ที่ถูกพัฒนาโดย John Bollinger โดยที่สัญญาณ envelope เป็นการลากเส้นที่อยู่เหนือและล่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในรูปของเปอร์เซ็นต์ (Percentage) ขณะที่ Bollinger bands จะลากอยู่ในรูปของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
Bollinger band เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่แสดงถึงภาวะตลาด ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นสัญญาณเคลื่อนที่ของราคาที่เคลื่อนไปรอบๆเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยทั่วไปจะกำหนดช่วงเวลาของ Bollinger band เป็น 20 วัน สำหรับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Simple และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เท่ากับ 2 ไม่แนะนำให้ใช้ช่วงเวลาของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่น้อยกว่า 10 วัน เนื่องจากจะทำให้ค่าที่ได้ไม่ดีพอ ในบางครั้งอาจใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 21 วัน แบบ Exponential มาใช้แทน โดยคงค่าเบี่ยงเบนมาตราไว้ที่ 2 การอ่านผลของ Bollinger bands มีลักษณะดังนี้

  1. ราคาจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ช่วงกว้างของแบนด์แคบลง
  2. เมื่อราคาทะลุผ่านออกนอกแบนด์ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มจะดำเนินต่อไป
  3. การที่ราคาวิ่งออกไปนอกแบนด์แล้วกลับเข้ามา จะเป็นสัญญาณถึงการกลับตัว
  4. สามารถนำการขึ้นลงของราคาหุ้นในช่องแบนด์ มาวิเคราะห์ราคาเป้าหมายได้

เส้นบนของ Bollinger bands เป็นเส้นที่แสดงถึงราคาได้ขึ้นมาสูงเกินราคาจริง (Over value) เป็นจุดขาย (Stop sell) ในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาทะลุลงต่ำกว่าแบนด์เส้นล่าง จะเป็นสัญญาณว่าราคาต่ำกว่าราคาจริง (Under value) จะเป็นสัญญาณเข้าซื้อ (Stop buy)

การนำ Bollinger band มาใช้วิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้น (Trend Following Indicator) ราคาหุ้นจะเป็นตลาดขาขึ้น หรืออยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น ราคาหุ้นจะวิ่งอยู่ในระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ กับแบนด์เส้นบน และราคาหุ้นเป็นขาลงเมื่อราคาเคลื่อนตัวอยู่ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่กับแบนด์เส้นล่าง

อย่างไรก็ดี หากต้องการนำ Bollinger bands มาวิเคราะห์อย่างหวังผล ควรนำรูปแบบของกราฟแท่งเทียนมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ในกรณีที่ราคาหุ้นร้อนแรงเกินไป ราคาทะลุผ่านแบนด์เส้นบนขึ้นไป แล้วเกิดตามด้วยสัญญาณกลับตัวของกราฟแท่งเทียนในปลายตลาดขาขึ้น เช่น Shooting star จะเป็นสัญญาณเตือนถึงแนวโน้มการกลับตัวเป็นขาลงของราคาหุ้น อาจเกิดตามมา ใช้เป็นจุดขาย (Stop sell) และหากราคาหุ้นไม่สามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ได้ จะเป็นการตอกย้ำว่าราคาได้เปลี่ยนทิศทางจากขาขึ้นเป็นขาลง ถือเป็นจุดขายตัดขาดทุน (Stop loss)

ในทางกลับกัน เมื่อราคาหุ้นอยู่ต่ำกว่าแบนด์เส้นล่าง ซึ่งหมายถึงการขายมากเกิน หรือราคาต่ำกว่าราคาจริง เมื่อเกิดสัญญาณกลับตัวปลายตลาดขาลงของกราฟแท่งเทียน เช่น Morning star เป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดขาลงใกล้สิ้นสุด ใช้เป็นจุดซื้อ (Stop buy) และเมื่อราคาหุ้นดีดตัววิ่งทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นไปได้ พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จะเป็นการตอกย้ำว่าราคาหุ้นได้เปลี่ยนเป็นขาขึ้น

เหตุการณ์ทั้งสองถ้าเกิดในช่วงที่แบนด์แกว่งตัวแคบๆ จะทำให้การปรับตัวขึ้น หรือปรับตัวลงรุนแรงตามมา



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น