วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under : ,


MACD (Moving Average Convergence Divergence) เป็นเครื่องมืออีกชิ้นที่ช่วยในการตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้มของคลื่น ซึ่งพัฒนาโดย Mr.Gerald Appel ในช่วงปลายยุค ’70 ที่สหรัฐอเมริกา


MACD จะประกอบด้วยกราฟสองเส้น คือเส้น MACD และเส้น Signal ตามภาพ ซึ่งจะแสดงแรงเหวี่ยง (Momentum) ของราคาที่เปลี่ยนไปตามระยะเวลา


1. เส้น MACD (เส้นสีน้ำเงิน) จะเกิดจากค่า 12-day Exponential Moving Average (หรือเรียกว่า EMA) ลบด้วย 26-day EMA โดย EMA จะมีหลักการเหมือนกับการหา Weighted Moving Average ทั่วไป แต่จะคำนวณด้วยฟังก์ชั่นยกกำลัง (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง EMA ได้ที่นี่ http://en.wikipedia.org/wiki/Moving_average#Exponential_moving_average)

2. เส้น Signal (เส้นสีแดง) คือค่า 9-day EMA ของเส้น MACD อีกต่อหนึ่ง เมื่อนำทั้งสองเส้นมาวิ่งทับกัน โดยให้เส้น Signal (สีแดง) เป็นเส้นยืน เมื่อใดที่เส้น MACD (สีน้ำเงิน) ตัดทะลุเส้น Signal (สีแดง) ลงมา ถือว่า MACD ส่งสัญญาณให้ขาย และหากเส้น MACD ตัดทะลุเส้น Signal ขึ้นไป ถือเป็นสัญญาณให้ซื้อ



และเมื่อเทียบกับระดับดัชนีจริง ก็พบว่าเมื่อ MACD ส่งสัญญาณขาย ดัชนีก็ “มักจะ” ปรับลดลง ในทางกลับกัน เมื่อส่งสัญญาณซื้อ ดัชนีก็ “มักจะ” ปรับเพิ่มขึ้น จนเป็นเหตุให้นักลงทุนใช้เป็นเครื่องช่วยตัดสินใจลงทุนได้อย่างสะดวก (ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน MACD อย่างละเอียดได้ที่นี่ http://stockcharts.com/school/doku.php?id=chart_school:technical_indicators:moving_average_conve)
.
อย่างไรก็ดี พบว่า MACD ไม่ได้ส่งสัญญาณที่มีคุณภาพ (ทำตามแล้วได้กำไร) เสมอไป ทำให้เกิดความสงสัยว่า หากเราลองทำตาม MACD ในระยะยาวแล้วจะให้ผลเป็นอย่างไร จึงเป็นที่มาของการทดสอบย้อนหลัง (Back Testing) กับข้อมูลในอดีตเพื่อดูความน่าเชื่อถือของมัน

ซึ่งพอจะสรุปผลได้ว่า

1. MACD จะให้สัญญาณถูกต้องประมาณ 45% (ผิดประมาณ 55%)

2. การทำตาม MACD จะให้กำไรสูงกว่าการซื้อแล้วถือ (Buy-and-Hold) อย่างมาก

3. หากเชื่อตาม MACD ตลอด 20 ปี ทั้งขาซื้อ และขา Short (สมมติว่าใช้ Futures เข้าช่วยด้วย) จะได้กำไรมากกว่าการเล่นฝั่งซื้ออย่างเดียว (ขายแล้วไม่ Short Futures ตามลงมา) ถึงประมาณ 2 เท่า (เพราะได้ทั้งขาขึ้นและขาลง)

4. การที่ MACD มีโอกาสผิดถึง 55% แต่ัยังเอาชนะการ Buy-and-Hold ได้อย่างถล่มทลาย เนื่องจากครั้งที่มันส่งสัญญาณผิด จะทำให้เราขาดทุนเฉลี่ยเพียง 21.35 จุด (กรณี SET Index) และคราวที่มันส่งสัญญาณถูก จะให้กำไรถึง 49.95 จุด เมื่อคำนวณหาค่าที่คาดหวัง (กำไร x โอกาส) พบว่า การเชื่อตาม MACD แต่ละครั้งจะให้กำไรโดยเฉลี่ย 10.53 จุด

5. การที่ MACD ส่งสัญญาณผิดแต่ยังขาดทุนไม่มาก ก็เพราะว่า MACD มักจะส่งสัญญาณผิดเวลาที่ตลาด Sideway ขึ้นลงไม่มาก


ในขั้นต่อไป ผมอยากจะลองทำ Back Testing กับหุ้นรายตัว ทั้งหุ้นใหญ่ กลาง เล็ก และหุ้นเก็งกำไร เพื่อให้เห็นเอกลักษณ์ของหุ้นแต่ละแบบ และในขั้นก้าวหน้ากว่านั้นผมก็จะลองทำ Back Testing กับ Technical Tool อื่นๆ เช่น DMI และ Stochastic เพื่อดูว่าเครื่องมือไหนจะสร้างผลกำไรได้มากที่สุดครับ (อาจจะดีกกว่า MACD ก็ได้)

บทความนี้ค่อนข้างยาวและมีเทคนิกหลายขั้นตอน ผมจึงพยายามอธิบายละเอียดสักหน่อย หวังว่าจะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นและสามารถนำ MACD ไปใช้การลงทุนจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ ทั้งนี้ ส่วนการกล่าวถึงการใช้ Futures เข้ามาประกอบในฝั่งขาย ก็เพื่อช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ของข้อมูลในกรณีดัชนีปรับลดลง ซึ่งตามปกติสำหรับนักลงทุนที่ไม่ได้ใช้ Futures ก็จะเล่นขาขึ้นเ่ท่านั้น และจะถือเงินสดรอหลังจากขายไปแล้ว (หรือไม่ก็นำเงินไปลงทุนอย่างอื่นไปพลางๆ)
แต่เหนืออื่นใด… วัตถุประสงค์ของบทความนี้ ไม่ได้อยู่ที่การนำเสนอผลการคำนวณอย่างเข้มข้น แต่อยู่การชี้ให้เห็นความน่าสนใจของ MACD ในฐานะที่เป็น Technical Tool ทีใช้ได้ดี “ตัวหนึ่ง” ในอีกหลายๆ ตัว ส่วนการทำ Back Testing ก็เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับ MACD ครับ 

ข้อมูลจาก .... http://fundmanagertalk.com



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น