วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under :

ข้อมูลจาก .... http://fx-amata.blogspot.com/

การเทรดข่าวได้กลายเป็นที่นิยมมากในหมู่ฟอเร็กเทรดเดอร์อย่างเราๆทั้งหลาย ด้วยเหตผลที่ง่าย ตามที่ข่าวได้ออกจากรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ค่าเงินหลายตัวเกิดการสวิงอย่างรุนแรงในช่วงนาที(หรือบางครั้งอาจจะเป็นวินาทีเลยก็ได้) ซึ่งสิ่งนี้แหระ ได้เป็นสิ่งยั่วยวนใจมากให้กับเทรดเดอร์ทั้งหลาย เพราะมันสามารถได้กำไรเร็วในช่วงเวลาที่สั้น ๆ

ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับนอนฟามกันก่อนนะครับ
ราชาของตัวเลขเศรษกิจทั้งหลายถูกเรียกว่า Non-Farm payroll ซึ่งมันจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเดือนละหนึ่งครั้ง จะเกิดขึ้นในวันศุกร์ สัปดาห์แรกของเดือน ข่าวนอนฟาม Non-Farm payroll นี้จะรายงานตัวเลขการจ้างงานทั้งหมดของคนงานสหรัฐในธุรกิจต่างๆ

ข่าวนอนฟาม NFP ( Non-Farm payroll ) นี้จะส่งผลกับจียู (GBP/USD) มากที่สุด ตัวเลขของข่าวนอนฟามจะออกเวลา 8.30ET (19.30 เวลาบ้านเรา) ในช่วงก่อนเวลา 19.30 ราคาจะสวิงขึ้นลง เกิด gap(ช่องว่าง) ขึ้นลงหาทิศทางไม่ได้ ซึ่งเราไม่รู้ราคามันจะไปทางไหน สิ่งที่เราควรทำก็คือ รอ อย่าพึ่งเข้าออเดอร์ใดๆ
ตารางของ Forexfactory, ข่าวที่มีผลต่อตลาดโฟเร็กซ์, ข่าวนอนฟาร์ม, ข่าวที่มีผลต่อค่าเงินสหรัฐ($USD)


ข่าว NFP หรือ Non Farm Payroll หรือ Non-Farm Employment Change คือผลสรุปเศรษฐกิจตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของอเมริกา จะประกาศทุกวันศุกร์แรกของทุกเดือน เวลาตามประเทศอเมริกาคือ 8:30am จะตรงกับเวลาในประเทศไทยบ้านเราคือเวลา 19:30 น. หรือตอนทุ่มครึ่ง ช่วงนี้คือช่วงเวลาที่ชาวฟอร์เร็กซ์เทรดเดอร์ทั้งหลายต่างต้องจ้องจับตามอง ถือเป็นช่วงเวลาทองในรอบหนึ่งเดือนเลยทีเดียว 

มาดูส่วนต่างๆ ของตารางข่าวด้านบน จะประกอบด้วย Date(วันที่),Time (เวลา), Currency(ค่าเงิน), Impact(ความแรงของข่าว)  ,Actual(ค่าที่ออกจริง),forecast(คาดการณ์) ,previous(ตัวเลขที่ออกก่อนหน้านั้น)Impact สีแดงจะเป็นข่าวที่มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือสีส้ม และสีเหลืองและสีข่าวจะแสดงว่าเป็นวีนหยุดของตลาดของประเทศนั้นและตัวเลขจริงที่ออก มาActual ตัวเลขที่ออกมาจะมี 3 สีด้วยเช่นกัน คือ สีเขียวคือข่าวดี สีแดงคือข่าวไม่ดี สีดำคือไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนีี้้ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย Impact ถ้าข่าว High Impact สีแดง และตัวเลขที่ประกาศออกมา เป็นสีเขียวหรือสีแดง ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงประมาณ 30-100 pips ขึ้นไป



วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under :

ข้อมูลจาก...http://www.serverrunea.com

การใช้ ความขัดแย้งกัน ในการเทรด

ถ้าเรามีวิธีที่มีความเสี่ยงตำในการส่งออร์เดอร์ Sell ที่จุดสูงสุดก่อนกลับตัวของขาขึ้น หรือ ออร์เดอร์ Buy ที่ใกล้จุดต่ำสุดของขาลงหล่ะ? และถ้าคุณเปิด ออร์เดอร์ Buy อยู่และคุณสามารถรู้ล่วงหน้าว่าจุดไหนควรจะเป็นจุดที่เหมาะสมในการออร์จากการเทรด แทนที่จะนั่งมองกำไรที่คุณยังไม่ได้เป็นกำไรของคุณเอง คุณกำลังฝันถึงรถในฝัน Aston Martin แต่เพียงแค่คุณขยี้ตาแป๊บเดียว มันเกิดการกลับเทรนด์ขึ้นอย่างรวดเร็ว?
ถ้าคุณคิดว่า ค่าเงินจะยังคงอยู่ในทิศทางขาลงต่อไป แต่ว่าคุณอยากจะส่งออร์เดอร์ Sell ในจุดที่คุณได้ราคาดีกว่านี้อีกหน่อย หรือว่าจุดที่เสี่ยงน้อยกว่านี้อีกหน่อยนึงหล่ะ? ลองมาดูกัน วิธีนี้ เราเรียกว่า ความแตกต่างในการเทรด หรือการเทรดโดยใช้ Divergence สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ความขัดแย้ง สามารถจะมามองเห็นด้วยการเปรียบเทียบพฤติกรรมราคากับ การเคลื่อนไหวของ อินดิเคเตอร์ต่าง ๆ ไม่สำคัญว่าจะเป็น อินดิเคเตอร์ประเภทไหน คุณจะใช้ RSI, MACD, stochastic, CCI, ฯลฯ.
แต่สิ่งสำคัญสำหรับ ความแตกต่าง คือคุณสามารถใช้มันในการเป็นตัวนำทาง ในการตัดสินใจในการเทรดและ วิธีใช้ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรมากนัก ปกติแล้วคุณสามารถจะทำกำไรได้อย่างต่อเนื่องเองด้วยการเทรดด้วย ความขัดแย้ง และข้อดีของ ความขัดแย้ง คือ คุณแทบจะซื้อได้ในราคาต่่าสุดของเทรนด์ขาขึ้นและ Sell ได้สูงสุดของเทรนด์ขาลงเลย ซึ่งทำให้คุณลดความเสี่ยงลงไปได้มากและทำให้คุณได้กำไรมากเช่นกัน

Higher Highs and Lower Lows The Divergence [Conflict] in The trade 

ให้จำไว้ว่า “Higher highs” และ “lower lows”. ราคาและ ความสมดุลของทิศทางราคาปกติจะไปด้วยกันเหมือนกับ Hansel and Gretel, Batman and Robin, Serena and Venus Williams, เกลือ กับ พริกไทย พอจะเข้าใจไอเดียรึเปล่า?
ถ้าราคา เกิด Higher highs, (ทำราคาสูงสุดครั้งใหม่) ตัว oscillator (MACD RSI ฯลฯ) ควรจะมีรูปแบบ higher highs. ด้วย ถ้าราคาเกิดรูปแบบ Lower lows, ตัว oscillator ก็ควรจะมีรูปแบบ lower lows.ด้วยเช่นกัน
แต่ถ้าไม่ นั่นหมายความว่าราคาและ Oscillator กำลังเกิดการขัดแย้ง ซึ่งกันและกัน และด้วยเหตุนี้เราจึงเรียกว่าการเทรดโดยใช้ ความขัดแย้ง เป็นเครื่องมือ ที่ยอดเยี่ยมที่คุณควรจะมีในกล่องเครื่องมือของคุณเพราะว่าสัณญาณ ความขัดแย้ง ที่คุณได้มานั้นจะบอกเราว่าจะมีบางอย่างกำลังจะเกิดขึ้น และคุณควรจะจับตาดูอย่างใกล้ชิด
การใช้ Divergence [ความขัดแย้ง] ในการเทรดในการหาจุดกลับตัว หรือว่าเมื่อตลาดหมดแรง บางครั้งคุณอาจจะใช้มันเป็นสัญญาณบอกว่าเทรนด์จะไปต่อรึเปล่าด้วยก็ได้! การเกิดความแตกต่าง มีสองประเภท:

  • แบบปกติ
  • แบบแฝง 

ในบทเรียนนี้ เราจะสอนคุณให้รู้จักกับ ความขัดแย้ง และจะใช้มันในการเทรดได้อย่างไร เรายังมีอะไรให้คุณแปลกใจในตอนท้ายอีกนิดหน่อย
ความขัดแย้ง ปกติ The Divergence in The trade

ความขัดแย้ง ปกติจะใช้ในการบอกว่าอาจจะมีสัญญาณการกลับตัวของเทรนด์เกิดขึ้น ถ้าราคาเกิดรูปแบบ Lower lows (LL), แต่ว่า ตัว oscillator เกิด higher lows (HL), เราเรียกลักษณะการเกิดแบบนี้ว่า regular bullish divergence. หรือว่าการเกิด ความขัดแย้ง ขาขึ้นแบบปกติ
ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการจบเทรนด์ขาลง หรือหลังจากที่มีการเกิดรูป Double bottom ที่สองขึ้นมา ถ้า Oscillator ทำท่าเหมือนจะเกิดราคาต่ำกว่าเดิม (New Low) แต่ว่าทิศทางราคาทำท่าเหมือนว่าจะขึ้น และโมเมนตั้มของราคาก็ดูเหมือนจะขยับไปในทิศทางเดียวกัน ข้างล่างนี้เป็นภาพตัวอย่างของ Regular bullish divergence หรือการเกิดความขัดแย้ง ขาขึ้นแบบปกติ


ตอนนี้ ถ้าราคาได้เกิด Higher high (HH), แต่ว่าตัว oscillator กลับเกิด Lower high (LH), คุณก็จะได้สัญญาณ regular bearish divergence หรือ ความขัดแย้ง ขาลงแบบปกติ ความขัดแย้ง ลักษณะนี้ สามารถพบได้ในขาขึ้น หรือหลังจากที่ราคาเกิดราคาสูงสุดครั้งใหม่ ถ้าตัว Oscillator เกิด Lower High คุณอาจจะคาดได้ว่าราคากำลังจะเกิดจุดกลับตัวและร่วงลงมา ในรูปข้างล่างนี้ เราจะเห็นว่าราคาเกิดจุดกลับตัวหลังจากที่มันพยายามทำราคาสูงสุดครั้งใหม่


จากที่คุณได้เห็นจากรูปข้างบน การเกิด ความขัดแย้ง แบบปกติเหมาะสำหรับการเข้าออร์เดอร์ในจุดที่่ต่ำสุดหรือสูงสุด ซึ่งคุณจะใช้ในการมองว่าจุดไหนจะเป็นจดกลับตัวส่วนตัวสัณญาณ Oscillator นั้น ถ้ามันเริ่มที่จะมีการ ความขัดแย้ง แล้ว ถึงแม้พฤติกรรมของราคายังจะเกิด higher high (or lower low) นั่นหมายความว่าเทรนด์จะไม่ยั่งยืนอีกต่อไป.

Divergence แฝง 

ตัว Divergence นั้นนอกจากจะให้สัณญาณจุดกลับตัวแล้วยังใช้ในการบอกสัญญาณว่าจะเกิดเทรนด์ต่อเนื่องหรือไม่ด้วย และจำไว้อยู่เสมอว่า เทรนด์เป็นเสมือนเพื่อนของคุณ ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณได้สัญญาณว่าจะเกิดเทรนด์อย่างต่อเนื่อง คุณก็ควรจะรู้ว่าควรจะต้องทำยังไงหล่ะ !

Hidden bullish divergence หรือ ความขัดแย้ง ขาลงแบบแฝง เกิดขึ้นเมื่อราคาได้เกิด higher low (HL) (การปิดสูงกว่าราคา Low) แต่ว่าตัว oscillator กลับให้สัญญาณ lower low (LL).

สัญญาณนี้หมายความว่าค่าเงินนั้นกำลังจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น เมื่อราคาเกิด Higher low ให้จับตาดูว่าถ้าตัว oscillator มีความเคลื่อนไหวคล้ายกัน แต่ถ้าตัว Oscillator ไม่ได้เกิดสัญญาณ lower low คุณก็จะได้สัญญาณ hidden divergence หรือสัณญาณ ความขัดแย้ง แฝงมา






ตอนนี้เราจะได้สัญญาณ สัญญาณ Hidden bearish Divergence หรือสัณญาณ ความขัดแย้ง ขาขึ้นแฝง ซึ่งรูปแบบนี้จะเกิดเมื่อตลาดให้สัญญาณ lower high (LH) แต่ตัว oscillator ก่าลังทำรูปแบบ higher high (HH). คุณอาจจะคิดว่าเป็นรูปแบบของเทรนด์ขาลง เมื่อคุณเจอรูปแบบ Hidden bearish divergence นั่นหมายความว่า โอกาสที่ราคาจะเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงอย่างต่อเนื่องเป็นไปได้สูง 


ทีนี้เราลองมาทบทวนบทเรียนกันนิดหน่อย ที่คุณได้เรียนมาทั้งหมด เกี่ยว Hidden divergence หรือสัญญาณ ความขัดแย้ง แฝง ถ้าคุณเล่นแบบ Trend follower (เทรดตามเทรนด์) คุณควรจะใช้เวลาในการศึกษารูปแบบ hidden divergence นี้บ้าง 

ถ้าคุณเอาใจใส่มัน บางทีมันอาจจะช่วยคุณเข้าเทรนด์ในช่วงที่กำลังเกิดเทรนด์ได้ดูเข้าท่าใช่มั๊ย? โอเค ตอนนี้เรารู้เกี่ยวกับ regular (แบบปกติ) และ hidden(แบบแฝง) divergence. เราหวังว่าคุณจะได้กำไรจาก Divergence และจำไว้เสมอว่า regular divergences เป็นสัญญาณว่าอาจจะเกิดจุดกลับเทรนด์ขณะที่ hidden divergences เป็นสัญญาณว่าเทรนด์จะยังคงมีต่อไป ในบทต่อไป เราจะยกตัวอย่างจากตัวอย่างจริงและคุณจะเทรดอย่างไรกับการใช้ ความแตกต่าง  

เราจะใช้ ความขัดแย้ง ในการเทรดได้อย่างไร?

ตอนนี้ถึงเวลาที่จะใช้ Jedi-divergence ของเจได (สตาวอร์) ในการทำกำไรจากตลาดแล้วเราจะยกตัวอย่างให้คุณซักตัวอย่างหนึ่งเมื่อมีการเกิด ความขัดแย้ง ระหว่างราคากับการเคลื่อนไหวของ oscillator ขึ้น สิ่งแรก ให้มาดู ความขัดแย้ง แบบ regular divergence ก่อน ข้างล่างนี้เป็นกราฟของคู่เงิน USD/CHF กราฟวัน


เราจะเห็นการร่วงลงของราคาในเทรนด์ขาลงซึ่ง USD/CHF กำลังอยู่ในเทรนด์ขาลง อย่างไรก็ตาม มีสัณญาณบอกว่าขาลงกำลังจะหมดไป ขณะที่ราคาได้เกิดรูปแบบ Lower lows (ตามกราฟแท่งเทียน) แต่ stochastic (ตัวอินดิเคเตอร์ที่เราเลือกใช้) ก่าลังแสดงภาวะ higher low. ไม่ยากเลยใช่มั๊ย แล้วมันเกิดการกลับตัวในท้ายที่สุดหรือไม่ เป็นเวลาที่ต้องส่งออร์เดอร์ Buy หรือไม่??




ถ้าคำตอบที่มีอยู่ในใจของคุณ คือ ใช่ ในคำถามที่เราถามไป คุณจะพบว่า คุณกำลังอยู่ที่แคริบเบี้ยนกำลังดื่มมาการิต้า เพราะคุณได้กำไรเยอะแย่จากตรงจุดนั้น! ผลที่ออกมาคือ การเกิดความขัดแย้ง ระหว่าง stochastic และพฤติกรรมราคาเป็นสัญญาณที่ดีในการส่งคำสั่ง Buy ราคาทะลุเส้นเทรนด์ไลน์ขาลงขึ้นไปและเกิดรูแบบเทรนด์ขาขึ้นใหม่ ถ้าคุณซื้อที่ใกล้จุดต่ำสุด คุณสามารถทำกำไรได้มากกว่าพันจุด ซึ่งราคายังคงเคลื่อนไหวต่อเนื่องในเดือนดังกล่าว 

ตอนนี้คุณจะเห็นแล้วว่ามันสามารถบอกเราได้ว่าจะเกิดการกลับเทรนด์ซึ่งทำให้เราเข้าเทรดได้เร็วขึ้น! ก่อนที่เราจะไปในเรื่องต่อไป คุณสังเกตุเห็นอะไรจากราคา Low ที่เกิดขึ้นครั้งที่สองบ้าง? ดูที่สัณญาณตัวอื่น ที่ให้สัญญาณว่าเป็นจุดกลับเทรนด์ ว่ามันให้การยืนยันสัญญาณว่าเทรนด์กำลังจะจบและมันทำให้เรามั่นใจกับสัญญาณที่เราได้รับจากการเทรดโดยใช้ความขัดแย้งมากขึ้น ! ต่อไปเรามาดุตัวอย่างของรูปแบบ Hidden divergence กันบ้าง อีกครั้งเราลองมาดูที่กราฟ USD/CHF กันบ้าง ในกราฟวัน. 





ทีนี้เราจะมาดูว่า ค่าเงินคู่นั้นอยู่ในขาลงยังไง สังเกตุที่ราคาได้เกิดรูปแบบ Lower High แต่ว่าตัว stochastic กำลังเกิด higher high ขึ้น ตามหลักการที่เราเรียนรู้มา นี่เป็น รูปแบบ Hidden bearish divergence! อืมมมมมแล้วเราควรจะทำอย่างไร หมายความว่า เทรนด์จะเกิดต่อไปใช่ไหม? ?เอ่อ ถ้าเกิดว่าคุณไม่แน่ใจ คุณสามารถดูเฉย ๆ ว่าหลังจากนั้นก็ได้




ถ้าคุณตัดสินใจนั่งดูมันเฉยๆ บางทีคุณอาจจะหัวล้านเหมือนกับ Professor Xavier(X-men) เพราะว่าคุณหงุดหงิดตัวเองจนกระชากผมตัวเองออกหมดเลยทำไมหรอ? เพราะว่า ราคามันยังเป็นขาลงต่อหน่ะสิ ! ราคาดีดออกจากเส้นเทรนด์ไลน์ และร่วงลงไปเกือบจะสองพันจุด ลองคิดดูว่าถ้าคุณใช้ ความขัดแย้ง แล้วคุณจะสามารถเห็นสัญญาณกลับตัวล่วงหน้าหรือว่า สัญญาณการเกิดเทรนด์ต่อไปดูสิ? ไม่เพียงแต่คุณกำลังจิบมาการิต้าอยู่ในแคริเบียนเท่านั้น คุณอาจจะมีสาว ๆ มานั่งล้อมรอบด้วยๆ !

เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆเกี่ยวกับMomentum

ขณะที่การใช้ ความขัดแย้ง ในการเทรดนั้นเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมนั้นในกล่องเครื่องมือขอคุณแล้ว คุณยังต้องเอาใจใส่กับการไม่เข้าเทรด เร็วเกินไปด้วย เพราะว่าคุณไม่ได้รอให้เกิดสัญญาณยืนยันเสียก่อน ข้างล่างเป็นเกร็ดเล็ก น้อย ที่จะใช้ในการยืนยันสัญญาณว่า ความขัดแย้ง ที่ให้มีความแม่นยำขนาดไหน

รอให้เกิดการ Crossover (ตัดข้ามเส้น) 

ไม่ได้สำคัญมากมายหรอก แต่เป็นเหมือนกับกฏมากกว่า เช่นว่ารอให้เกิดการตัดข้ามเส้น อินดิเคเตอร์ก่อน ซึ่งมันจะช่วยยืนยันเราได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณ Buy หรือสัญญาณ Sell เหตุผลหลัก ในเรื่องนี้ที่คุณจะต้องรู้จักรอ เพราะว่าการเกิดรูปแบบ ความขัดแย้ง ยังไม่ชัดเจนพอที่เราจะยืนยันได้ว่ามันเกิดเทรนด์ใหม่ขึ้นแล้ว ! 





ในกราฟข้างบน ค่าเงินปรากฏรูปแบบ Lower highs ขณะที่ Stochastic เกิดรูปแบบ Higher high ตอนนี้ซึ่งตอนนี้สัณญาณ bearish divergence ณจุดนี้และมันเหมาะที่เราจะส่งออร์เดอร์ Sell  แต่คุณรู้ไหม เราควรจะรอดูมันซักหน่อย คืออย่างน้อยรอให้ Stochastic เกิดรูปแบบการตัดลงก่อน เพื่อยืนยันสัณญาณว่าเป็นขาลงต่อเนื่องจริง ๆ



หลังจากนั้นไม่กี่แท่ง Stochastic ก็ตัดข้ามกันลงมา ถ้าเรา เทรดบน bearish divergence นี้ทำให้เราได้กำไรอย่างแน่นอน! ในความหลักของเรื่องนี้ก็คือ ให้อดทนรอ อย่าพึ่งกระโดดเข้าตลาดทันทีเพราะว่าคุณจะไม่รู้ว่ามันจะไปในทิศทางไหนจริง ๆ เมื่อมีการสร้างรูปแบบชัดเจนแล้วเท่านั้น ถ้าคุณไม่อดทน คุณอาจจะล้างพอร์ดได้ ! ให้หลุดแนว Overbought / oversold อีกอย่างหนึ่งก็คือ เราต้องรอให้ Momentum ในอินดิเคเตอร์ของเราชนแนว overbought และ oversold ของเราเสียก่อน และให้รอมันหลุดแนว Overbought และ Oversold ลงมา เพื่อเป็น

การยืนยันสัญญาณ 

เหตุผลในเรื่องนี้ก็เหมือนๆกัน กับการรอให้เกิดการ Crossover ของอินดิเคเตอร์ (Stochastic) คุณไม่ควรจะเข้าเทรดเมื่อ Momentum ของอินดิเคเตอร์กำลังจะยกตัวขึ้นสมมุติว่าคุณกำลังดูที่กราฟ และสังเกตุว่า Stochastic ได้เกิดราคาต่ำสูดครั้งใหม่ขึ้น (NewLow) แต่ว่ากราฟแท่งเทียนไม่ได้แสดงอย่างนั้น




คุณอาจจะคิดว่า มันเป็นเวลาที่เราจะต้องส่งออร์เดอร์ Buy เพราะว่าอินดิเคเตอร์กำลังบอกเราว่ามันเกิดภาวะ Oversold และ ก็เกิด ความขัดแย้ง แล้วด้วย อย่างไรก็ตาม แรงขายอาจจะเพิ่มเข้ามาและราคาอาจจะท่าราคาต่ำสุดครั้งใหม่ขึ้นอีก คุณอาจจะผิดหวังเมื่อคุณคิดว่าเทรนด์ไม่ได้ไปต่อ จริง ๆ แล้วเทรนด์ขาลงครั้งใหม่อาจจะก่าลังก่อตัวขึ้นเพราะว่ามันกำลังเกิด Lower high แต่ถ้าคุณดื้อ คุณอาจจะพลาดขาลงต่อไปที่จะเกิดขึ้นนี้ ถ้าคุณรออย่างอดทน ให้เกิดการยืนยันสัญญาณ คุณก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการขาดทุนและเข้าใจว่าเทรนด์ครั้งใหม่กำลังก่อตัวขึ้น

วาดเส้น Trend lines ในตัวอินดิเคเตอร์ 

ฟังดูอาจจะน่าหัวเราะ ไปซักหน่อยซึ่งปกติคุณจะวาดเส้นเทรนด์ไลน์ในกราฟแท่งเทียนเท่านั้น แต่ว่า มันเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราอยากจะให้คุณรู้ มันไม่ได้ทำให้คุณเสียตังค์หรอกที่จะมีอาวุธอีกซักอันไว้ในคลังอาวุธของคุณ จริงมั๊ย? คุณไม่รู้หรอกว่ามันอาจจะได้ใช้ก็ได้ในวันหน้า ! เคล็ดลับนี้เป็นประโยชน์เมื่อเรากำลังมองการจุดกลับตัว หรือว่าการเกิดเบรคเอาท์ เมื่อคุณเห็นราคาสามารถวาดเทรนด์ไลน์ได้ ให้คุณวาดเส้นเทรนด์ไลน์ในตัวอินดิเคเตอร์ของคุณเข้าไปด้วย




คุณจะเห็นว่า อินดิเคเตอร์ที่เราใช้นั้นยังเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับเทรนด์ไลน์เลย ถ้าคุณเห็นราคาทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน และตัวอินดิเคเตอร์ที่เราใช้มันทะลุเส้นเทรนไลน์ขึ้นมาหมายความว่าอาจจะเกิดการกลับเทรนด์ขึ้นได้ ใช่ทะลุขึ้นไป Break it down เหมือนกับ มิวสิควีดีโอของไมเคิลแจ็คสันเลย! 

กฏ 9 ข้อในการใช้ Divergence [ความขัดแย้ง]

ก่อนที่เราจะเริ่มไปศึกษาด้วยตัวคุณเองเรามาลองดูกฏของมันทั้งเก้าขอก่อนที่จะไปเทรดด้วย ความขัดแย้ง กันให้คุณเรียนรู้กฏ จดจำกฏ (หรือย้อนกลับมาอ่านตรงนี้บ่อย ๆ ก็ได้) และประยุกต์ใช้ในการเทรดของคุณให้ดีขึ้น หรือ ไม่ก็ช่างมัน ข้ามไปแล้วก็ เตรียมล้างพอร์ท

ดูให้ดีซะก่อนว่าแว่นคุณใสสะอาดดีรึเปล่า
ในการเกิด ความขัดแย้ง นั้น ราคามักจะมีรูปแบบดังต่อไปนี้:

  • Higher high สูงกว่าราคา high ก่อนหน้า
  • Lower low ต่่ากว่า ราคา low ก่อนห้า
  • Double top
  • Double bottom


อย่าพึ่งไปดูตัวอินดิเคเตอร์ ถ้าเกิดว่าไม่มีการเกิดรูปแบบนี้ขึ้นมา ถ้าคุณไม่ได้ทำตาม คุณก็ไม่ได้เป็นนักเทรด ความขัดแย้ง หรอก คุณเป็นแค่นักเทรดที่ใช้จินตนาการคิดไปเอง และให้รีบไปเข้าร้านตัดแว่น หาแว่นใหม่ซักอันดีกว่า


วาดเส้นเทรนด์ไลน์ ที่ราคา สูงสุด และราคาต่ำสุด
โอเค ตอนนี้คุณต้องลองวาดดูแล้ว(ตามราคาตอนนี้) ลองดูในกราฟที่เรามีตามภาพ จำไว้ว่า คุณจะต้องเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ก่อน : Higher high, หรือ New high, lower low, หรือ New low. แล้วลองวาดเส้นจากจุดสูงสุดหรือต่ำสุดของราคาแล้วลากย้อนกลับจากจุดังกล่าวไปยังจุดต่ำสุด หรือสูงสุดก่อนหน้านี้ ซึ่งมันก็น่าจะได้เส้นตามที่เราคาดไว้ แม้ว่าคุณจะเห็นว่าราคามัน ขึ้นๆ ลง ๆ อยู่บ้างแต่ไม่ต้องไปสนใจ ท่าในสิ่งที่คุณต้องท่า แม้ว่าคนอื่นจะว่ายังไงก็ตาม

ทำในสิ่งที่ถูกต้อง – ให้ลาก TOPS และ BOTTOMS เท่านั้น
เมื่อคุณเห็นราคาทำ High สองครั้ง ให้คุณลากเส้นจากจุด Top อีกตัวหนึ่ง มายังจุด Top อีกที่หนึ่ง ตอนนี้คุณก็จะได้เส้นมา และในทางกลับกัน ถ้าเกิดราคาต่่าสุดสองครั้งคุณก็ทำเช่นเดียวกัน กับ Bottomsอย่าตัดสินใจผิด ๆ ด้วยการลากเส้นโดยการที่คุณเห็นว่ามีเส้น Bottom เมื่อคุณเห็นมันเกิด จุด High สองจุด มันไม่เข้าท่าเลยจริง ๆ ท่าให้เราเกิดความสับสนขึ้นได้






จับตาดูที่ราคาตลอด 
ถ้าคุณได้เชื่อมหรือลากเส้นจากจุด Top หรือ Bottom ทั้งสองมาชนกันแล้วตอนนี้ ให้มองหาอินดิเคเตอร์ที่คุณจะใช้ในการเปรียบเทียบกับพฤติกรรมราคานี้ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่คุณอยากใช้ จำไว้ว่าให้เปรียบเทียบ Top หรือ Bottom ซึ่งบางตัวอย่างเช่น MACD หรือว่า stochastic มีเส้นสองเส้นและวิ่งขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนอารมณ์ไวรุ่น อย่าไปกังวลว่ามันจะเป็นอย่างไรทำในสิ่งที่คุณควรจะทำ




ให้ที่ทำตัวเหมือนกับ Pip Diddy (วาทยากรคนหนึ่ง)
ถ้าคุณลากเส้นเชื่องระหว่างจดสองจุดแล้ว คุณต้องลากเส้นเหมือนกับที่คุณทำในกราฟแท่งเทียนในอินดิเคเตอร์ของคุณด้วย ทั้ง High และ Low เพื่อให้มันสัมพันธ์กัน
  





ให้ตรงกับแนว
จุด High หรือ low ที่คุณวิเคราะห์ออกมาในอินดิเคเตอร์ของคุณต้องเป็นแนวเดียวกันกับราคาในกราฟที่เกิดรูปแบบ High หรือ Low เหมือนกับว่าคุณกำลังเลือกชุดไปเที่ยวผับนั่นแหละ คุณต้องแต่งตัวให้แมทช์กัน โย่ววว!



ใช้ความชันของกราฟ
ความขัดแย้ง จะเกิดขึ้นเมื่อ ความชันของกราฟนั้นแตกต่างกัน ระหว่างความชันของกราฟ กับความชันของ Indicator ซึ่งความชันอาจจะออกมาในรูปของ: Ascending (เฉียงขึ้น) descending (เฉียงลง) Flat (ราบ)





ถ้าเราตกเรือแล้ว ให้รอลำต่อไป
ถ้าคุณจะเทรดโดยใช้ ความขัดแย้ง แต่ว่าราคานั้นได้วิ่งไปไกลแล้ว ซึ่งหมายความว่ามันเกิดเทรนด์ไปแล้วนั่นเอง สิ่งที่คุณควรจะทำคือ รอ แลรอให้มันเกิดการสวิง High Low ครั้งต่อไป



กลับมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
สัณญาณ ความขัดแย้ง นั้นดูจะใช้ได้ในกราฟที่ Time Frame ยาว ๆ คุณจะไม่ค่อยพบสัณญาณหลอกมากนัก ซึ่งหมายความว่าคุณก็ไม่ได้เทรดบ่อยมากนักด้วยแต่ถ้าคุณวางลักษณะการเทรดของคุณดี ๆ ก่าไรที่คุณจะได้ก็เป็นกำไรก้อนโต ๆ แต่ถ้าเราใช้ใน Time Frame ที่สั้นหน่อย มันก็จะไม่ค่อยน่าเชือถือซักเท่าไหร่ เราแนะนำให้คุณใช้กับกราฟ Time Frame หนึ่งชั่วโมงขึ้นไป บางคนใช้กับกราฟ 15 นาที หรือน้อยกว่านี้อีก ทำให้มีสัณญาณหลอกมากมายเต็มไปหมด ซึ่งเราควรจะอยู่ห่าง ๆ ไว้ดีกว่า 

ตอนนี้คุณก็ได้กฏทั้ง 9 ข้อคุณต้องท่าตามกฏ ถ้าคุณอยากจะใช้ ความขัดแย้ง ในการเทรด เชื่อเราสิ คุณไม่อยากจะแหกกฏนี้หรอกท่าตามกฏ และคุณก็จะกลายเป็นนักเทรดความขัดแย้ง ที่มีความช่านาญและได้ก่าไรมากขึ้น ตอนนี้ลองกลับไปดูกราฟของคุณเอง ถ้าคุณเห็นว่ามี  ความขัดแย้ง เกิดขึ้นในกราฟคุณที่ผ่านมาแสดงว่าคุณมีแววที่จะใช้ความขัดแย้ง ในการเทรดของคุณได้

สมุดเล็คเชอร์ Divergence [ความขัดแย้ง]
มาทบทวนทั้งหมดที่เราเรียนไปกันหน่อย ! มี Divergence อยู่สองประเภท: 

ความขัดแย้ง รูปแบบปกติ
ความขัดแย้ง รูปแบบแฝง

ความขัดแย้ง แต่ละประเภทนั้นจะเป็นตัวกำหนดภาวะกระทิงและภาวะหมี

หลังจากที่คุณเรียนกับเรามาอย่างหนัก ไม่เคยโดดเรียนเลย เราอยากจะช่วยคุณ (เพราะเราเป็นสุภาพบุรุษ) โดยการให้ สมุดเล็กเชอร์ของเราที่ช่วยให้คุณ บอกว่าแบบไหนเป็น ความขัดแย้ง แบบปกติ หรือ เป็นแบบแฝงได้เร็วยิ่งขึ้น 

บันทึกทั้งหมดนี่ลงใน ปาล์ม(PDA) ของคุณเมื่อคุณเทรด ถ้าคุณเป็นประเภทที่เหงือออกมือเต็มไปหมด เราไม่แนะนำวิธีนี้
แค่ทำคั่นหน้านี้ไว้ และแค่เปิดมาดูเมื่อเกิด รูปแบบกราฟดังต่อไปนี้ higher lows,lower highs, lower lows, and higher highs. คุณไม่อยากจะเดาในการเทรดของคุณใช่มั๊ย?เมื่อโอกาสมาถึง

สรุป : Divergences




กรุณาจำไว้ว่า เราใช้ ความขัดแย้ง เป็นเครื่องมือ ไม่ใช่สัญญาณในการเข้าเทรด !

การเทรดโดยใช้ ความขัดแย้ง จะไม่เหมาะ หรือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อสัญญาณ ความขัดแย้ง นั้นก่อให้กิดสัญญาณหลอกมากมาย มันไม่ได้เป็นเครื่องมือที่ยืนยันให้คุณได้ 100
เปอร์เซ็นต์ แต่ว่า เมื่อคุณใช้มันตามเงื่อนไขที่เราก่าหนดไว้ก่อนหน้านี้ รวมกับเครื่องมือยืนยันสัญญาณอื่น ๆ การเทรดของคุณก็มีโอกาสสูงที่คุณจทำกำไรได้และมีความเสี่ยงต่ำ

มีวิธีสองวิธีในการใช้ Divergence  [ความขัดแย้ง] อย่างไรให้ได้เปรียบหรือเกิดประโยชน์มากที่สุด

วิธีแรก คือ ให้มองหาเทรนด์ หรือใช้รูปแบบของกราฟแท่งเทียนในการยืนยันทั้ง จุดกลับตัวหรือจุดที่คิดว่าเทรนด์จะไปต่อในการส่งออร์เดอร์
ส่วนอีกวิธีคือ การใช้ โมเมนตั้ม โดยการดูจุดที่มันตัดกันของ Oscillator หรือรอให้ เครื่องมือของเราหลุดออกจากโซน Overbought Oversold เสียก่อน หรือใช้การวาดเส้นเทรนด์ไลน์ในตัวเครื่องมือ Oscillator ด้วยก็ได้
ด้วยเทคนิคเหล่านี้ คุณสามารถป้องกันตัวคุณเองจากสัณญาณหลอก และสามารถกรองหาจุดที่คิดว่าสามารถทำกำไรได้ถ้าเราเทรดตรงข้ามกับ อินดิเคเตอร์ของเรามันอันตรายมาก







ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าเราควรจะเทรดในทิศทางไหน ก็อย่าพึ่งเทรดให้นั่งสังเกตุการณ์ไปก่อน จำไว้ว่าการไม่เทรดก็เป็นการตัดสินใจในการเทรดแบบหนึ่งและพยายามรักษากำไรไว้แทนที่จะไปนั่งเสียในสิ่งที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ความขัดแย้ง จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่ว่าเมื่อมันเกิดขึ้นคุณควรจะต้องให้ความสนใจมันมากหน่อย เพราะมันทำผลตอบแทนได้มหาศาล ความขัดแย้ง แบบปกติช่วยคุณสามารถสะสมกำไรก้อนใหญ่ๆ เพราะว่า มันทำให้คุณเข้าได้ถูกทิศทางและเข้าตอนที่เทรนด์กำลังก่อตัว ความขัดแย้ง แบบแฝง จะบอกคุณว่าเทรนด์กำลังจะไปต่อ ทำให้คุณสามารถขี่เทรนด์และทำกำไรได้มากกว่าที่คุณคาดคิดเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการฝึกสายตาของคุณให้หาจุด ความขัดแย้ง เมื่อมันเกิดขึ้นได้ง่ายและใช้ ความขัดแย้ง ในการเทรดได้ถูกต้อง ถ้าเพียงเพราะว่าคุณเห็นและคิดว่ามันเป็น ความขัดแย้ง มันไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องรีบกระโดดเข้าเทรด ให้เลือกจุดที่คุณคิดว่าดีที่สุดเท่านั้นและคุณจะเทรดได้ดี





วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under : ,

RSI เป็นเครื่องมือวัดการแกว่งของตลาดอีกเหมือนกัน ซึ่ง RSI จะให้สัญญาณที่ช้ากว่า อินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ แต่เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างที่จะแม่นยำเลยทีเดียว

การใช้ RSI  โดยส่วนใหญ่ก็จะใช้ดู Overbought /Oversold เหมือนกัน  และดู Divergence เช่นเดียวกัน การดูDivergence ด้วย RSI เป็นที่นิยมกันมาก เพราะมันจะให้ค่าที่แม่นตรง มากๆ โอกาสที่จะพลาดมีน้อย เพราะว่า RSI จะวิ่งเป็นรอบที่ใหญ่มากตามค่าที่เราตั้ง ถ้าเราตั้งค่า 14  ราคาวิ่งลงหนึ่งรอบ rsi จะวิ่งแค่สองรอบ ซึ่งแตกต่างจาก sto ที่วิ่งเป็น สิบๆรอบ นี่คือเหตผลที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้ RSI เป็นเครื่องมือในการทำกำไร

RSI ที่ใช้กันส่วนใหญ่ คือ  9 และ 14 วัน เป็นค่าที่มาตรฐานที่สุด

สัญญาณการกลับตัว เมื่อ RSI เข้าสู่ระดับ 70 ให้เราเตรียมตัวออกจากออเดอร์ที่เราได้ เปิด Buy ไว้ แล้วก็หาจังหวะ Sell

สัญญาณการกลับตัวเมื่อ RSi เข้าสู่ระดับ 30 ให้เราเตรียมตัวออกจากออเดอร์ที่เราได้ เปิด Sell ไว้ แล้วก็หาจังหวะ Buy

การหาจังหวะเข้า  Sell ต้องรอให้ RSI หัดหัวลงก่อนนะครับ เปิดดูที่กราฟ TF ใหญ่ๆก่อนว่ามันหักลงหรือป่าว ถ้าหัก เราก็เปิด หา สัญญาณจาก TFเล็กๆ ถ้าหักลงตามกัน
เราก็จึงหาจังหวะ Sell ในขณะเดียวกัน จังหวะบายก็ทำเหมือนกัน

ภาพตัวอย่างของการใช้ RSI 



ข้อมูลจาก...http://www.fx-dd.makewebeasy.com



วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under :


สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน วันนี้ขอนำเสนอ วิธีการเทรดโดยการดู Divergence วิธีนี้เทรดเดอร์มือใหม่ควรจะเรียนรู้เอาไว้นะครับ เพราะสามารถใช้ทำกำไรได้ดีทีเดียว เทรดเดอร์บางคนเทรดมาหลายปีแล้วยังไม่รู้เลยครับ ว่า Divergence และ Convergence คืออะไร วันนี้ 9professionaltrader จะเขียนบทความให้อ่านนะครับ 
Divergence เป็นการวิเคราะห์ทางเทคนิคอีกแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในการวิเคราะห์ ในตลาดฟอเร็กซ์หรือแม้แต่ตลาดหุ้น  เพราะ Divergence เป็นวิธีการเทรดที่ง่ายและเข้าใจง่าย

Divergence คือ การแยกออกจากกัน ความขัดแย้งกันของราคาและตัวชี้วัด(Indicator) หมายความว่า ทิศทางของราคาและทิศทางของตัวชี้วัด Indicator จะตรงกันข้ามกัน 

Convergence คือ การลู่เข้ามาหากัน ลู่เข้ามาบรรจบกัน ในการวิเคราะห์เราจะหมายความว่า ทิศทางของราคา และทิศทางของตัวชี้วัด Indicator จะไปในทิศทางเดียวกัน 

ตัวชี้วัด Indicators ที่ใช้ในการดู Divergence และ Convergence ที่ใช้กันทั่วไป ส่วนมากจะเป็น Oscillators Indicator คือ Indicators ที่วัดการแกว่งของราคา ได้แก่ Relative Strength Index (RSI) , Moving Average Convergence Divergence (Macd) , Stochastic Slow (Sto) , Commodity Channel Index และ William's Percent Range (W%R)

ตัวชี้วัดเหล่านี้ ผมได้ทดลองใช้แล้วพบว่าดีที่สุดสำหรับการดู Divergence
Divergence มี 2 ประเภท คือ Divergence Bullish คือ ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่(New Low) เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดเก่า (Low)  แต่ตัวชี้วัด(indicator) ทำจุดต่ำสุดใหม่(New Low) สูงกว่าจุดต่ำสุดเก่า(Low)  ดูรูปด้านล่างครับ




Bullish Divergence

จากรูปจะเห็นว่าความชันของ Indivator จะเป็นบวก

EX. Bullish Divergence Chart เป็นกราฟ ของ GBP/USD


-ทริคในการดู Bullish Divergence ให้ได้ผลออกมาดีที่สุด คือ เราต้องรอให้ราคาที่มาทำ New Low มีการดีดตัวกลับก่อน ตรงตำแหน่ง New Low ต้องเกิด Bullish Candle คือมีการดีดตัวกลับ แล้วเราจึงมาดู Indicator ว่า New Low มันสูงกว่า Low เดิมมั้ย ถ้ามันสูงกว่า นี่คือสัญญาณ Bullish Divergence เราสามารถเปิดออเดอร์ Buy(Long) ได้เลยครับ


Divergence Bearish คือ ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ (New High) สูงกว่าจุดสูงสุดเก่า (Low) แต่ตัวชี้วัด (Indicator) ทำจุดสูงสุดใหม่ (New High) ต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่า (High) ดูที่รูปด้านล่างครับ


จากรูปเราจะเห็นว่า ความชันของอินดิเคอร์เตอร์ จะเป็นลบ 


Ex. ตัวอย่างกราฟ Divergence Bearish เป็นกราฟ EUR/USD 4 H 





จากรูปเราจะเห็นว่า ราคาขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่า แต่อินดี้ของเรากลับทำจุดสูงสุดใหม่ต่ำกว่าเก่า แบบนี้เราเรียกว่า Divergence Bearish ครับ 

ทริคในการสังเกตไดเวอร์เจนประเภทนี้ คือเราต้องรอให้ราคาหยุดนิ่งก่อน อย่าไปสวนขณะที่มันกำลังพุ่งขึ้นเด็ดขาด ต้องรอให้มีการกลับตัวเล็กน้อย โดยดูจากแท่งเทียน ถ้ามีแท่งเทียนกลับตัว Bearish Candle , Reverse Candle และมาดูที่ Indicator ถ้ามันต่ำกว่า High เก่า เราก็สามารถ Sell (Short) 
ได้เลย

Credit:......www.9professionaltrader.blogspot.com Divergence and Convergence Trading | Forex Trading Blog สอนเทรด Forex - แหล่งศึกษาข้อมูล Forex และสอน Trade Forex แบบมืออาชีพ 
Under Creative Commons License: Attribution



วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

Posted by Forex Trader | File under :
ข้อมุลจาก .... http://www.taladhoon.com


FIBONACCI เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรม ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI และได้มีการบันทึกไว้ในราวต้น ค.ศ.ที่ 13 จากการที่เขาได้สังเกต และศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น รูปแบบของฟ้าแลบ รูปแบบของผลไม้ต่าง ๆ และรูปแบบของเปลือกหอยทาก เป็นต้น พบว่า การเกิดของปรากฏการณ์เหล่านั้นมีรูปแบบที่เป็นปกติ และค่อนข้างสม่ำเสมอ (Regular) ซึ่งเขาได้นำมาคิดเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ คือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89 และต่อ ๆ ไป โดยตัวเลขเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน กล่าวคือ ตัวเลขตัวหลังเป็นผลบวกของสองตัวเลขก่อนหน้า เช่น 1 บวก 2 เท่ากับ 3 และ 3 บวก 5 เท่ากับ 8 เป็นต้น และอัตราส่วนของตัวเลขก่อนหน้าต่อตัวตามติดมาหลังจากใน 4 ตัวแรกแล้ว จะเข้าใกล้อัตราส่วน 0.618 เสมอหรือกลับกันที่เข้าใกล้อัตราส่วน 1.618 ทั้งนี้เมื่อตัวเลขยิ่งเพิ่มขึ้นมาก ๆ ความเข้าใกล้อัตราส่วน 0.618 และ 1.618 ยิ่งมากเช่นกันดังตัวอย่างต่อไปนี้


1/1  =  1.0
1/1  =  1.0
1 / 2  =  .5
2/1  =  2.0
2/3  =  .667
3/2  =  1.5
3/5  =  .60
5/3  =  1.667
5/8  =  .625
8/5  =  1.6
8/12  =  .615385
13/8  =  1.625
13/21  =  .619048
21/13  =  1.61538
21/34  =  .617647
34/21  =  1.61905
34/55  =  .618182
55/34  =  1.61765
55/89  =  .618056
89/55  =  1.61818



อัตราส่วนนี้ต่อมา เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีของชาวกรีกและอียิปต์สมัยโบราณ โดยเรียกอัตราส่วนนี้ว่า อัตราส่วนทอง  (Golden Ratio) และได้มีการนำอัตราส่วนนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ดีกับวิชาการดนตรี ศิลปะการสถาปัตยกรรม และชีววิทยา และเชื่อกันว่าชาวกรีก ใช้หลักของอัตราส่วนนี้ในการก่อสร้างโบสถ์พาธินอน (Parthenon) ที่มีสถาปัตยกรรมอันงดงามในกรุงเอเธนส์ และชาวอียิปต์ก็เช่นเดียวกัน ใช้หลักของอัตราส่วนนี้ในการสร้างปิรามิด

จากตัวเลข FIBONACCI ดังกล่าว ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของราคาหุ้นที่เชื่อว่า มีการเคลื่อนไหวในรูปแบบที่ค่อนข้างแน่นอนเพื่อที่จะใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย ของราคาหุ้น โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ

    ฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนาน  (FIBONACCI LINES)
    ฟิบอนนาซี่แบบพัด  (FIBONACCI FAN LINES)
    ฟิบอนนาซี่แบบระยะเวลา  (TIME ZONES)

โดยใน 2 รูปแบบแรก (แบบข้อ 1 และ 2) จะเกี่ยวข้องกับเรื่องราคาเป็นสำคัญ ในขณะ รูปแบบหลัง (แบบข้อ 3) จะเกี่ยวข้องกับเรื่องเวลา



ฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนาน  (FIBONACCI LINES)

การสร้างรูปแบบนี้ สามารถทำได้ทั้งในแนวนอน หรือตามแนวโน้มที่กำลังขึ้นหรือลงอยู่ โดยในแนวนอน เริ่มต้นจะต้องหาจุดสูงสุด หรือต่ำสุดของแนวโน้มที่มีนัยสำคัญของราคาหุ้นเสียก่อน แล้วทำการสร้างเส้นตรงแนวนอน (Horizontal line) ผ่านจุดนั้น, ส่วนในแนวโน้มขึ้น เริ่มต้นด้วยการสร้างเส้นแนวโน้มขึ้นจากจุดต่ำสุดอย่างน้อยสองจุด, สำหรับในแนวโน้มลง จะเริ่มด้วยการสร้างเส้นแนวโน้มลงจากจุดสูงสุดอย่างน้อยสองจุด

หลังจากนั้น ให้สร้างเส้นตรงที่ขนานกับเส้นแรก โดยลากผ่านจุดสูงสุดหรือต่ำสุดที่ตรงข้ามกับเส้นแรก และต่อมาก็สร้างเส้นขนานในช่องระหว่างเส้นทั้งสอง ตามอัตราส่วน 38.2% 50.0% และ 61.8% ตามอัตราส่วนเลขฟิบอนนาซี่ (FIBONACCI RATIO) เพื่อแบ่งช่องว่างระหว่างเส้นขนานระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุด และ ณ เส้นตรงขนานระดับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% นี้เองทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับหรือแนวต้านสำหรับราคา และเมื่อราคาหุ้นสามารถวิ่งทะลุผ่านขึ้นหรือลงก็จะให้สัญญาณซื้อหรือขายตามลำดับ

จากรูปภาพ เป็นตัวอย่างของฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนานในแนวนอน เรากำหนดให้จุด A เป็นจุดสูงสุด และจุด B เป็นจุดต่ำสุด โดยมีเส้นขนาน C, D, และ E เป็นตัวแบ่งความกว้างระหว่างจุด A และ B ตามอัตราส่วนเลขฟิบอนนาซี่ และสำหรับการวิเคราะห์ เราจะเห็นได้ว่า ในช่วงระหว่าง JUNE ถึง SEP. ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบกว้าง ๆ ระหว่างเส้น C ที่กรณีนี้ทำหน้าที่เป็นแนวต้านและเส้น E ที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับในขณะที่มีเส้น D อยู่ตรงกลาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่ออยู่ต่ำกว่าราคาหุ้น และแนวต้านในกรณีอยู่สูงกว่าราคาหุ้น เราเห็นได้จากการเคลื่อนที่ของดัชนีฯ ตามกราฟ ที่เมื่อใดที่ดัชนีฯ มีการเคลื่อนไหวขึ้นไปใกล้แนวต้าน (เส้น C) จะหักหัวลง ซึ่งเกิดขึ้นถึง 4 ครั้งในช่วงระยะเวลา JUNE-SEP. ที่ผ่านมา จนประสบความสำเร็จวิ่งทะลุผ่านได้ในที่สุด และวิ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง SEP. ในทางกลับกัน ดัชนีฯ ก็จะหักหัวสูงขึ้น เมื่อเข้าใกล้แนวรับตามเส้น D และ E แต่ถ้าทะลุแนวรับลงไปได้ก็จะลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน อาทิเช่น ในช่วงปลาย MAY

สำหรับรูปฟิบอนนาซี่แบบเส้นตรงในแนวโน้มขึ้นและลง เป็นดังตัวอย่างต่อไปนี้





ฟิบอนนาซี่แบบพัด  (FIBONACCI FAN LINES)

การสร้าง FIBONACCI FAN LINES ในเบื้องต้น ก็เหมือนกับกรณีแบบเส้นตรงแนวนอน คือต้องหาจุดต่ำสุด และสูงสุดของแนวโน้มที่มีนัยสำคัญของราคาหุ้นก่อน แล้วสร้างเส้นแนวโน้มจากจุดต่ำสุดหรือสูงสุดที่ระดับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% ตามลำดับ เพื่อแบ่งความกว้างระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด (ปกติเครื่องจะสร้างเส้น FAN LINES ให้)

เส้น FAN LINES ทั้ง 3 เส้นนี้ จะเป็นแนวรับและแนวต้าน สำหรับราคาหุ้น และเมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้น FAN LINES เส้นใดขึ้นไป ก็จะเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณให้ซื้อ ในทางตรงกันข้ามถ้าทะลุผ่านเส้น FAN LINES ลงมาก็บอกถึงสัญญาณให้ขาย และโดยปกติแล้ว เมื่อราคาหุ้นตกทะลุผ่านแล้วแนวรับลงมา ราคาหุ้นจะลงอย่างรวดเร็วไปสู่แนวรับเส้นต่อไป ในทางกลับกันถ้าราคาหุ้นสามารถทะลุผ่านเส้นแนวต้านขึ้นไปได้ ก็จะวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่อยู่เหนือกว่าต่อไป



ฟิบอนนาซี่แบบช่วงระยะเวลา  (TIME ZONES)

เป็นการสร้างช่วงระยะเวลา โดยใช้ตัวเลข FIBONACCI เป็นตัวแบ่ง โดยจะเริ่มจากยอดต่ำสุดหรือสูงสุดของแนวโน้ม ทั้งนี้เมื่อราคาหุ้นเข้าใกล้ หรือตรงกับเส้นตรงที่แบ่งช่วงระยะเวลา อาจจะมีสัญญาณที่บ่งบอกว่า แนวโน้มหุ้นจะดำเนินต่อไปตามแนวโน้มเดิม หลังจากมีการชะลอตัว หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มที่มีนัยสำคัญ




หมายเหตุ  เมื่อมีรูปแบบและความหมายของ FIBONACCI แต่ละแบบแล้ว การวิเคราะห์และพิจารณาประกอบกัน ยิ่งจะทำให้มีความหมาย และความแน่นอนมากขึ้น เช่นในกรณีที่ราคาหุ้นอยู่เหนือจุดที่ FANLINES และ TIMEZONE มาพบกัน ซึ่งถือเป็นจุดแนวรับ การที่ราคาหุ้นทะลุผ่านจุดหรือแนวดังกล่าวลงมาได้ ยากกว่าการที่จะผ่านแนวรับตาม FAN LINES เพียงอย่างเดียว ในทำนองเดียวกัน ราคาหุ้นจะผ่านแนวต้านตรงที่ FAN LINES มาบรรจบกัน TIMEZONE ได้ยากกว่าแนวต้านตาม FAN LINES อย่างเดียวเช่นกัน

เครื่องมือ FIBONACCI นี้ เหมาะสำหรับการหาแนวโน้มระยะปานกลาง และระยะเวลาสำหรับจุดต่ำสุด และสูงสุด ควรห่างกันอย่างน้อยประมาณ 3 เดือน จึงจะมีความแม่นยำในการชี้แนวโน้ม และมีข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งว่า แนวรับหรือแนวต้าน สำหรับการวิเคราะห์ราคาหุ้นโดยทั่วไปจะใช้ตัวเลข 38%, 50% และ 62% ของการขึ้นหรือลง ซึ่งแตกต่างเล็กน้อยจากตัวเลข FIBONACCI คือ 38.2%, 50.0% และ 61.8%






Posted by Forex Trader | File under :
ข้อมูลจาก....http://www.taladhoon.com


STOCHASTICS  คือ ดัชนีวัดการแกว่งตัวของราคาที่ศึกษาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาปิด โดยมาจากข้อสังเกตที่ว่า ถ้าการสูงขึ้นของราคาหุ้นนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป ราคาปิดของหุ้นนั้นจะอยู่ใกล้กับราคาสูงสุด แต่ถ้าราคาของหุ้นมีแนวโน้มลดต่ำลง ราคาปิดจะอยู่ในระดับเดียวกับราคาต่ำสุดของวัน
ถ้าราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก “ขึ้น” เป็น “ลง” เรามักจะพบว่าราคาในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายอาจจะสูงขึ้น แต่ราคาปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุดของวัน แต่หากราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก “ลง” เป็น “ขึ้น” ราคาปิดจะมีราคาใกล้เคียงกับราคาสูงสุดของวัน แม้ว่าในระหว่างชั่วโมงซื้อขายราคาอาจจะลดต่ำลง
ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสูงสุด-ต่ำสุดกับราคาปิด ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสูตรสมการในการดูแนวโน้มขึ้น หรือลงของราคาหุ้นในช่วงสั้น ๆ โดยนำมาใช้ดูว่า ราคาปิดอยู่ที่ระดับกี่เปอร์เซ็นต์ของช่วงราคาที่ซื้อขายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

หลักการเบื้องต้นในการคำนวณ  STOCHASTICS
เครื่องมือ  STOCHASTICS  ประกอบด้วย
     เส้น %K เป็นเส้น  STOCHASTICS
     เส้น  %D  เป็นเส้นค่าเฉลี่ยของเส้น  %K
            %K       =         ราคาปิด (วันนี้) - ราคาต่ำสุด (ในช่วง n วัน)          
                              ราคาสูงสุด (ในช่วง n วัน) - ราคาต่ำสุด (ในช่วง n วัน)

            %D       =   ค่าเฉลี่ย (n วัน) ของค่า  %K


หลักการอ่าน  STOCHASTICS
สัญญาณเตือน “ซื้อ” เกิดขึ้นเมื่อเส้น  STOCHASTICS เข้าเขต  OVERSOLD ที่บริเวณระดับต่ำกว่า 20% และควรซื้อเมื่อเกิดสัญญาณ “ซื้อ” จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ขึ้น
สัญญาณเตือน “ขาย” เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERBOUGHT ที่บริเวณระดับสูงกว่า 80% และควรขายเมื่อเกิดสัญญาณ “ขาย” จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ลง


รูปแบบของการตัดขึ้นตัดลง

สัญญาณซื้อหรือขายจากการตัดขึ้นหรือลงในทางปฏิบัติ มักจะมีบางกรณีเกิดเป็นสัญญาณหลอกขึ้นซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนเสียหาย จึงมีกฎเกณฑ์เพิ่มเติมในการอ่านรูปแบบของการตัดขึ้นหรือลง โดยจะดูว่ารูปแบบในลักษณะใดที่จะผลักดันให้ราคาหุ้นขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว

การตัดค่อนไปทางขวามือ  (RIGHT-HAND CROSS-OVER)

เนื่องจากเส้น %K เปลี่ยนทิศทางเร็วกว่าเส้น %D โดยจะวิ่งขึ้นหรือลงก่อน และอาจทำให้เกิดสัญญาณหลอก ดังนั้นสัญญาณที่ดีกว่าคือ การให้ทั้ง 2 เส้นเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ในกรณีเช่นนี้ รูปแบบจะออกมาในลักษณะที่เส้น %K ตัดเส้น %D ค่อนไปทางขวามือ (RIGHT-HAND CROSS-OVER) ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนกว่า






รูปแบบ  HINGE

เป็นรูปแบบการชะลอการขึ้นหรือลงในลักษณะอ่อนตัวลง เป็นเครื่องชี้ว่าราคาหุ้นอาจจะมีการเปลี่ยนทิศทางในเร็ว ๆ นี้






การแยกทางจากกันระหว่างแผนภูมิราคากับแผนภูมิ STOCHASTICS
(DIVERGENCE)  แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

BEARISH DIVERGENCE  คือการที่ราคาหุ้นสามารถสร้างจุดสูงใหม่ แต่ STOCHASTICS ไม่สามารถสร้างจุดสูงใหม่เป็นสัญญาณขาย


BULLISH DIVERGENCE  คือการที่ราคาหุ้นสร้างจุดต่ำใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำเก่า แต่ STOCHASTICS มีจุดต่ำใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำกว่า เป็นสัญญาณซื้อ





รูปแบบ SET-UP
จุดยอดใหม่ของ   STOCHASTICS  สูงกว่าจุดยอดเก่า ในขณะที่ราคาหุ้นไม่สามารถสร้างจุดสูงใหม่และกลับลดต่ำกว่าจุดสูงเก่าเป็นสัญญาณเตือนว่า การลดต่ำลงของราคาหุ้นไม่น่าจะรุนแรงมากกว่านี้เรียกว่า  BULL SET-UP  และมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะดีดตัวกลับสูงขึ้น



BEAR SET-UP จุดต่ำใหม่ของ  STOCHASTICS  ต่ำกว่าจุดต่ำกว่าในขณะที่ราคาหุ้นมีจุดต่ำใหม่สูงกว่าจุดต่ำเก่า  เป็นสัญญาณเตือนว่า การขึ้นของราคาหุ้นครั้งนี้จะเป็นการขึ้นก่อนที่ราคาจะต่ำลง


รูปแบบ  FAILURE แบ่งเป็น  2 ลักษณะคือ

รูปแบบ  KNEE  เส้น %K ตัดเส้น%D ขึ้นและถอยกลับแต่ไม่ทะลุผ่านเป็นสัญญาณเตือนว่า  ราคาหุ้นยังสามารถที่จะเคลื่อนตัวสูงขึ้นต่อไปได้



รูปแบบ  SHOULDER  เส้น %K ตัดเส้น %D  และดีดตัวสะท้อนกลับแต่ไม่สามารถตัดผ่านไปได้เป็นสัญญาณเตือนว่าราคาหุ้นใกล้จะอ่อนตัวลง



รูปแบบ  GARBAGE แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

GARBAGE TOP  เป็นรูปแบบทีเส้น  %K ตัดเส้น %D ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่บริเวณเขตภาวะซื้อมากไป รูปแบบนี้จะเกิดขึ้นกับสภาพตลาดที่อยู่ในภาวะขาขึ้น ซึ่งจะใช้ระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะมีการปรับตัวลง ลักษณะการปรับตัวลงของ STOCHASTIC จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว  และจะสามารถดีดตัวกลับสูงข้นได้ทันที โดยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับตัว V จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า SPIKE BOTTOM




GARBAGE BOTTOM เกิดขึ้นในสภาพตลาดขาลง และมีความหมายตรงกันข้ามกับ GARBAGE TOP โดยรูปแบบการปรับตัวสูงขึ้นของ  STOCHASTIC จะเป็นไปในลักษณะ SPIKE TOP





ความหมายของระดับ 0% และ 100%

ระดับ 0%  หมายถึงระดับที่บอกภาวะขายมากไป  (OVERSOLD) ของหุ้นแต่ ณ ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะลดลงต่ำกว่านี้อีกไม่ได้ เพียงแต่แต่บอกว่า ณ ระดับนี้ราคาหุ้นอาจหยุดพักชั่วคราว หรืออาจดีดตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ในลักษณะของ  TECHNICAL REBOUND ก่อนที่ราคาจะตกลงต่อระดับ 0% จึงอาจตีความได้ว่าราคาหุ้นได้ลดลงมาถึงระดับ  “WEAK”

ระดับ 100 % หมายถึงระดับที่บอกภาวะซื้อมากไป (OVERBOUGHT) ของหุ้น แต่ ณ ระดับนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นจะไม่สามารถวิ่งขึ้นสูงต่อไปได้ แต่กลับชี้ให้เห็นว่าหุ้นมีความแข็งแรง (STRONG) จน สามารถผลักดันให้เส้น STOCHASTIC ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 100% ได้ อย่างไรก็ดี ณ ระดับราคานี้  STOCHASTIC   อาจมีการปรับตัวลงมาบ้าง (TECHNICAL CORRECTION)   แต่เป็นการปรับตัวเพื่อลดภาวะ OVERBOUGHT  มากกว่า



สโตแคสติกส์แบบเร็ว FAST STOCHASTIC

STOCHASTIC  แบบเร็วนี้ เป็นเครื่องมือวัดการแกว่งตัวของระดับราคาในปัจจุบัน ภายในช่วงกว้างของระดับราคา ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งมีการแกว่งตัวที่รวดเร็วมาก จึงทำให้หลายฝ่ายไม่นิยมใช้ เนื่องจากมีการแกว่งตัวที่ผันผวนและไม่แน่นอน ดังนั้น SLOW STOCHASTIC จึงเป็นที่นิยมใช้มากกว่า  STOCHASTIC นี้ประกอบด้วยค่าดัชนีสองค่าคือ %K และ %D โดยจะบอกถึงภาวะซื้อมากไป  (OVERBOUGHT) เมื่อ STOCHASTIC ตัดเส้น  80%  ขึ้นไป  คืออยู่ในช่วงระหว่างเส้น 80%  ถึง  100  % และจะบอกภาวะขายมากไป (OVERSOLD)  เมื่อ  STOCHASTIC   เตือนชี้จะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %D ตัดเส้น  20% ลงมา  และสัญญาณซื้อจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น  %Kตัดเส้น  %D ขึ้นไป   สำหรับสัญญาณเตือนขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %D ตัดเส้น 80% ขึ้นไป   และสัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %K ตัดเส้น  %D ลงมา

FORMULA

FAST %k  =   CURRENT CLOSE – LOWEST LOWn  
                        HIGHEST HIGHn – LOWEST LOWn

%D = 3 PERIOD MODIFIED MOVING AVERAGE OF FAST %k

n =  NUMBER OF PERIODS





สโตแคสติกส์แบบช้า SLOW STOCHASTIC

SLOW STOCHASTIC  เป็นอีกแบบหนึ่งของเครื่องมือวัดการแกว่งตัวของราคา ที่ถูกทำให้ราบเรียบขึ้นจาก  FAST STOCHASTIC   ซึ่ง SLOW STOCHASTIC  ใช้  MODIFIED MOVING AVERAGE  ในการหาค่า  SLOW %K  เท่ากับ  3  PERIOD แต่ใน FAST STOCHASTIC ค่าของ  FAST %Kจะใช้ MODIFIED MOVING AVERAGE เท่ากับ  1  PERIOD  หรือไม่มีการเฉลี่ยนั่นเอง

FORMULA

SLOW %K = 3 Period Modified Moving Average of FAST %K

%D =  3 Period Modified Moving Average of  SLOW %K

หลักการวิเคราะห์  SLOW STOCHASTIC  ใช้หลักเดียวกันกับ  FAST    STOCHASTIC





สโตแคสติกส์แบบปรับปรุง MODIFIED STOCHASTIC

MODIFIED  STOCHASTIC   เป็นอีกแบบหนึ่งของเครื่องวัดการแกว่งตัวของราคา ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยสามารถทำให้ราบเรียบขึ้นจาก  FAST STOCHASTIC หรือทำให้แกว่งตัวมากกว่า SLOW STOCHASTIC

แต่เดิม  FAST  STOCHASTIC  ใช้   MODIFIED MOVING  AVERAGE ที่กำหนดช่วงเวลาในการหาค่า  %D เท่ากับ  3 และ  SLOW  STOCHASTIC   ใช้  MODIFIED MOVING AVERAGE ที่กำหนดช่วงเวลาการหาค่า  %Kและ %D   เท่ากับ  3  แต่ใน  MODIFIE STOCHASTIC ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าของ MOVING AVERAGE เท่ากับช่วงเวลาใดๆก็ได้ และสามารถกำหนดรูปแบบของ  MOVING AVERAGE ได้ตามต้องการ เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาค่า  %K
และ %D

หลักการวิเคราะห์ของ  MODIFIED STOCHASTIC  ใช้หลักเดียวกันกับ FAST และ   SLOW   STOCHASTIC






วิลเลี่ยมเปอร์เซ็นต์อาร์  WILLIAM %R

%R เป็นเครื่องมือแสดงภาวะซื้อมากไป หรือภาวะขายมากไป ซึ่งพิจารณาจากราคาปัจจุบันว่าอยู่ ณ ระดับราคาใดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่กำหนด  %Rของช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ถูกคำนวณได้ โดยหักลบราคาปัจจุบันจากราคาสูงสุดของช่วงเวลานั้น แล้วหารผลที่ได้นี้ด้วยช่วงกว้างของระดับราคาของช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้

%R  =   HIGHn – CURRENT  LAST 
                      LOWn – HIGHn

เมื่อ       
n             =          จำนวนเวลา
HIGHn   =          ราคาต่ำสุดในช่วงเวลาที่กำหนด
LOWn    =          ราคาต่ำสุดในช่วงเวลาที่กำหนด

%R จะแตกต่างจากเครื่องมือตัวอื่น ๆ ในด้านมาตรวัด ซึ่งใช้วัดระดับ
ภาวะซื้อมากไปหรือขายมากไปโดยมีระดับอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง –100 กล่าวคือระดับ  0  จะอยู่ข้างบน ส่วน – 100  จะอยู่ด้านล่าง  เหตุที่วาง SCALE   ในลักษณะนี้เพื่อเหตุผลในการคำนวณ ดังนั้นจึงไม่ต้องให้ความสำคัญกับเครื่องหมายลบ

หลักการวิเคราะห์ของ  WILLIAMS
               สัญญาณซื้อจะเกิดเมื่อ  %R  ได้ตัดเส้นระดับ  -90% ขึ้นไป
               สัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น  %R  ตัดเส้นระดับ –10%
               ระดับภาวะซื้อมากไป  (OVERBOUGHT ) อยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง – 10
               ระดับภาวะขายมากไป  (OVERSOLD)  อยู่ในช่วงระดับ –90 ถึง – 100